Page 119 - kpi15476
P. 119
11 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
3. ตัวชี้วัดในเชิงจิตภาพ (Mental Indicator) ในจักกวัตติสูตรได้กล่าวลักษณะที่สำคัญ
ประการหนึ่งของผู้ปกครองที่เน้น “การรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง” ซึ่งพระอรรถกถาจารย์
35
ได้ขยายความหมายของ “การรักษา” เอาไว้ว่า “คุณธรรมมีขันติเป็นต้น ชื่อว่าการรักษา ซึ่ง
สอดรับพุทธพจน์ว่า “บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่า รักษาตน ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลรักษาคนอื่น
ด้วยวิธีอย่างไร จึงชื่อว่า รักษาตน บุคคลรักษาคนอื่นด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยเมตตาจิต และ
36
ด้วยความเป็นผู้เอ็นดู จึงชื่อว่า รักษาตน” แง่มุมดังกล่าวสอดรับกับแนวทางของการพัฒนา
อารมณ์ (Emotion) ของผู้ปกครองตามหลักทศพิธราชธรรม เพื่อให้มีจิตใจให้รู้จักเสียสละ
ซื่อตรง อ่อนโยน ยับยั้งชั่งใจ ไม่โกรธ ไม่เบียดเบียน อดทน และหนักแน่นยึดมั่นในยุติธรรม
ดังนั้น คุณธรรมที่เป็นเครื่องมือในพัฒนาจิตภาพของผู้นำจึงประกอบไปด้วยหลักการที่สำคัญดังต่อ
ไปนี้
(1) ความเสียสละ (ปริจาคะ) หมายถึง การที่จะเป็นผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองที่
สมบูรณ์นั้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องเสียสละความสุขสำราญ หรือผลประโยชน์ และ
ความต้องการส่วนตน หรือกลุ่มของตน โดยผู้ปกครองที่แท้จริงนั้นสามารถเสียสละ
ได้แม้กระทั่งชีวิตตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า “จงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ
จงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และจงสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม” ซึ่งการดำรงตนให้
เหมาะแก่ความเป็น “ธรรมราชา” นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสียสละความสุข
และผลประโยชน์ส่วนตน เพื่ออุทิศตัวอุทิศตนเพื่อประโยชน์ของมหาชน ดังปฐม
บรมราชโองการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสว่า “เราจะครองแผ่นดิน
โดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ถึงกระนั้น ผู้ปกครองจำนวน
หนึ่งได้ละเลยแนวทางดังกล่าว
(2) ความซื่อตรง (อาชชวะ) หมายถึง ซื่อตรงทรงสัตย์ ไร้มารยา ปฏิบัติภารกิจโดย
สุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงประชาชน คำว่า “ซื่อตรง” ในบริบทนี้หมายถึง
“ความซื่อตรงต่อธรรม” ไม่ได้หมายถึงการซื่อตรงต่อคน ซึ่งลักษณะการซื่อตรงนั้น
เหมือนกับกระสวยของการทอผ้าด้วยหูก เมื่อใดก็ตามที่คนทอผ้าดันกระสวยเข้าไป
ในหูกแล้ว ตัวกระสวยวิ่งตรงออกไปอีกด้านของหูกโดยไม่ติดขัดกับด้านใดด้านหนึ่ง
ของตัวผ้า ลักษณะเช่นนี้ เราเรียกว่า “ซื่อตรง”
ในสถานการณ์ปัจจุบันกลุ่มคนจำนวนมากจะมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อความซื่อตรงว่า
“ขาดความยืดหยุ่น หัวโบราณ ทำให้ไม่มีเพื่อนพ้อง และผลของความซื่อตรงอาจจะ
ทำให้ไม่มีความเจริญก้าวหน้าในการทำงาน และวิชาชีพ” ซึ่งความซื่อตรงใน
ลักษณะดังกล่าวมักจะสะท้อนความซื่อตรงเทียม เพราะความซื่อตรงเทียมมักจะขึ้น
ตรงกับเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาสัมพันธ์ แต่ความซื่อตรงแท้นั้น จะไม่ขึ้น
เอกสารประกอบการอภิปราย 36 องฺ.ทุก.อ. (ไทย) 2/14/87.
กับตัวแปรหรือเงื่อนไขต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะในความเป็นจริงแล้ว ความ
ซื่อตรงแท้จะขึ้นอยู่กับธรรม ซึ่งเป็นคุณธรรมที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ประพฤติ
ปฏิบัติ
35
สํ.ม. (ไทย) 19/385/147.