Page 121 - kpi15476
P. 121

120     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                           (4) รู้จักยับยั้งชั่งใจ (ตปะ) หมายถึง ผู้ปกครองจำเป็นต้องฝึกฝนพัฒนาจิตใจให้
                               สามารถทนต่อกิเลส หรือสิ่งยั่วยุที่เข้ามากระทบจิตใจ ข่มใจมิให้ความอยากได้

                               (ตัณหา) อยากใหญ่ (มานะ) และจิตใจที่คับแคบ (ทิฐิ) เข้ามาครอบครอง และ
                               ย่ำยีจิตใจ อีกทั้งมีจิตใจที่มั่นคงสามารถระงับยับยั้งข่มใจได้ ไม่ยอมให้หลงใหล
                               หมกมุ่นในความสุขสำราญและความปรนเปรอ มีความเป็นวิถีชีวิตที่เสมอต้นเสมอ

                               ปลาย และมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินกิจกรรมที่ทรงคุณค่าแก่บุคคลอื่นๆ ในชุมชน
                               และสังคม

                               ข้อสังเกตประการหนึ่งต่อการดำรงตนของการเป็นผู้ปกครองในสถานการณ์ปัจจุบัน
                               และผู้ปกครองมักจะตกอยู่ภายในอิทธิพล และก่อให้เกิดความหายนะทั้งในชีวิตและ
                               การทำงาน คือ “อำนาจ” ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยย้ำเตือนผู้ปกครองมาโดยตลอดว่า

                               “ผู้ปกครองได้ยศแล้วไม่ควรเมา” ถึงกระนั้น ผู้ปกครองจำนวนมากมักจะติดหล่ม
                               ของอำนาจในด้านใดด้านหนึ่ง ไม่ว่าอำนาจที่เกิดจากหน้าที่การงาน และการเงิน

                               ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะประสบความหายนะ เพราะความหลงใหลและเพลิดเพลิน
                               กับอำนาจที่ตัวเองได้รับมา จนนำไปสู่การใช้อำนาจโดยขาดความยั้งคิดว่าสอดรับ
                               กับกฎหมาย จริยธรรม และกติกาของสังคมหรือไม่ และหลายสถานการณ์ที่

                               ผู้ปกครองพยายามจะบิดพลิ้วให้ตัวเองมีอำนาจ และหน้าที่ ทั้งที่ในความเป็นจริง
                               แล้ว อำนาจและหน้าที่ที่ผู้ปกครองพยายามจะบิดพลิ้วนั้น อาจจะไม่สอดรับกับ

                               ความเป็นจริงตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น หากผู้ปกครองไม่ระมัดระวังการใช้
                               อำนาจ หรือใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมก่อให้เกิดความ
                               เสี่ยงที่จะพลัดหลงเข้าไปสู่วังวนของความขัดแย้งและความรุนแรง ด้วยเหตุนี้ หาก

                               ผู้ปกครองไม่พยายามที่จะยับยั้งชั่งใจ เตือนใจ และระมัดระวังใจของตัวเองแล้ว
                               ย่อมเป็นเรื่องยากที่ผู้ปกครองจะพาตัวเองออกไปจากหุบเหวของความทุกข์ใน

                               บั้นปลาย ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ปกครองจำนวนมากประสบชะตากรรมหลังจากที่
                               ตัวเองหมดอำนาจที่จะให้คุณหรือโทษแก่บุคคลอื่น


                           (5) การไม่ความโกรธ (อักโกธะ) หมายถึง ผู้ปกครอง หรือผู้ปกครองไม่ควรแสดง
                               อาการเกรี้ยวกราด และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความโกรธ เพราะผลเสียที่ตามมา

                               จะก่อให้เกิดการวินิจฉัยความ หรือตัดสินใจดำเนินการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดความผิด
                               พลาดจนสูญเสียความเป็นธรรม ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนว่า “ฆ่าความ
                                                          37
                               โกรธเสียได้ ย่อมอยู่เป็นสุข”  เหตุผลสำคัญที่พระองค์ต้องตรัสเช่นนี้ก็ด้วยเหตุที่
                               ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้ปกครองไม่สามารถฆ่าความโกรธเกลียดได้ ความโกรธจะกลาย
                               เป็นอาวุธสำคัญที่จะเข้ามาทิ่มแทงผู้ปกครอง เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้ปกครองเกิด

                               ความโกรธ เกลียด หรือชิงชัง จะทำให้ “ความรัก” ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็ม
        เอกสารประกอบการอภิปราย      37   “โกธํ  ฆตฺวา  สุขํ  เสติ” (ส.ส. (ไทย) 15/57/64).
                               กำลัง เพื่อที่จะเปิดพื้นที่ของหัวใจให้ผู้ปกครองมอง หรือประเมินค่ากลุ่มคนอื่นๆ ใน
                               ฐานะเป็นเพื่อนร่วมโลกที่ต้องเกิด แก่ เจ็บ และตายเฉกเช่นเดียวกัน
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126