Page 126 - kpi15476
P. 126

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   125


                      ทั้งด้านภาคราชการ ด้านธุรกิจ ด้านเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฉลาดในการรู้จักใช้
                      วาจาเพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนกลุ่มต่างๆ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในรัฐ


                            ประเด็นที่น่าสนใจคือ การเป็น “ธรรมราชา” ในพระพุทธศาสนานั้น เริ่มต้นจากการพัฒนา
                      ปัจจัยภายนอกเพื่อให้เกิดความพร้อมในเชิงเศรษฐกิจ เพื่อให้พลเมืองในรัฐมีความมั่นคงทางด้าน

                      เศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากกรณีวิธีการปราบโจรของพระเจ้ามหาวชิตราชที่เข้าใจความจริงว่า
                      “การปราบโจรที่แท้จริงไม่ใช่กลุ่มคนที่ไปลักขโมยหรือปล้น หากแต่หมายถึงความยากจน เมื่อ

                      ปราบความยากจนได้โจรก็จะหายไปจากแผ่นดิน” หลังจากนั้น จึงเข้าไปสู่การพัฒนา ศีล และ
                      ภาวนาในระดับที่สูงต่อไป 38


                            การเป็น “พระราชา” หรือ “พระเจ้าจักรพรรดิ” บนฐานของคำว่า “ธรรมราชา” ใน
                      พระพุทธศาสนา “ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริงของนักปกครอง” หากแต่เป็นเครื่องมือในการพัฒนา

                      “สมบัติ หรือทรัพย์ภายนอกไปสู่สมบัติหรือทรัพย์ภายในที่ยั้งยืนกว่า” เพราะประเด็นที่
                      พระพุทธเจ้าต้องการจะอธิบายคือ “ความสูงส่ง และความวิเศษของสถานะที่พระราชาหรือพระเจ้า
                      จักรพรรดิได้ประสบนั้น ไม่สามารถเทียบเคียงได้กับสถานะของความเป็นธรรมราชาที่พระองค์มี

                      และเป็นอยู่” เพราะสมบัติของของพระราชาและพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น จักรแก้ว ม้าแก้ และ
                      นางแก้วนั้นตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตามปัจจัยและตัวแปรต่างๆ

                      ทรัพย์สมบัติภายนอกที่ได้รับมาจากความเพียรพยายามในลักษณะต่างๆ นั้นจึงไม่ยั่งยืน แต่ความ
                      เป็นเจ้าแห่งธรรมที่พระองค์ได้รับนั้นอยู่เหนือตัวแปรและเงื่อนไขต่างๆ


                            สิ่งที่สามารถสนับสนุนการอธิบายนี้ในประเด็นนี้ได้ดีคือ “พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ”
                      ทรงตัดสินพระทัยเสด็จออกบวชจากเรือนเป็นฤาษีภายหลังที่จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์

                      ถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง จึงรับสั่งเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มาแล้วตรัสว่า”


                               “ลูกเอ๋ย ทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่ตั้งแล้ว ก็พ่อได้ยินมา
                         ว่า “จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใดถอยเคลื่อนจากที่ตั้ง ณ บัดนี้
                         พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น จะทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน” กามทั้งหลายอันเป็นของ

                         มนุษย์พ่อก็ได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นเวลาที่พ่อจะแสวงหากามอันเป็นทิพย์ มาเถิด ลูกเอ๋ย
                         ลูกจงปกครองแผ่นดิน อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ส่วนพ่อจะโกนผมและหนวด นุ่งห่ม

                         ผ้ากาสาวพัสตร์ออกจากเรือนเป็นบรรพชิต”   39

                            ภายหลังที่พระองค์ได้ทรงออกผนวชเป็นบรรพชิตเป็นฤๅษีได้ 7 วัน จักรแก้วที่ได้เคลื่อนตัว

                      ในเบื้องตันได้อันตรธานหายไป จะเห็นว่า “ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ” ที่มีจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้า
                      แก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้วแวดล้อม สมบัติเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นทรัพย์
                      ภายนอกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และหายไปตามตัวแปรและเงื่อนไขต่างๆ พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ

                      ทรงประจักษ์ความจริงดังกล่าว จึงตัดสินพระทัยแสวงหาทรัพย์ภายในโดยการออกผนวช

                         38   พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, “เศรษฐศาสตร์การเมืองเชิงพุทธ”, ใน วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ (ฉบับที่ 1
                      มกราคม-มิถุนายน 2556) (กรุงเทพฯ: เมืองไทยรายวัน, 2556), น. 38-54.                                  เอกสารประกอบการอภิปราย

                         39   ที.ปา, (ไทย) 11/82-83/61.
   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130   131