Page 131 - kpi15476
P. 131
130 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
แนวความคิดว่าด้วย “ผู้ปกครอง”
I มหาราช หรือ “the Great”
การยกย่องสรรเสริญ “ผู้ปกครอง” ที่เก่าแก่ที่สุดคือ การยกให้ผู้ปกครองมีสถานะของความ
เป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” หรือ “The Great” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งถ้าสืบค้นไป จะพบว่า ในทุกชาติเผ่าพันธุ์
จะมีการยกย่องในลักษณะของการเป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งปรากฎในภาษาของแต่ละท้องถิ่น อย่างเช่น
คำว่า e Bozorg และ e azam ในภาษาเปอร์เชียนและอูรดู หรือคำว่า Maha ในอักขรเทวนาครี
(devanagiri) ที่ใช้เป็นตัวหนังสือเขียนในภาษาฮินดี และการใช้คำดังกล่าวนี้ที่เราคุ้นเคยก็คือ
ในกรณีที่ชาวอินเดียยกย่องสามัญชนของเขาอย่างโมหันทาส กะรัมจัน คานธีว่า “มหาตมคานธี”
3
(Mahatma Gandhi)
การยกย่องผู้ปกครองให้เป็นผู้ยิ่งใหญ่เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในเปอร์เซีย “The Great” โดยน่าจะ
เริ่มจากการเป็นสำนวนภาษาพูดที่หมายถึง “กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่” ที่เริ่มต้นใช้เรียกกษัตริย์ไซรัส
ที่สอง (Cyrus II of Persia: 599-530) ผู้เป็นจอมทัพในการรบชนะพิชิตดินแดนต่างๆ ต่อมา
4
ชาวมาซิโดเนียก็รับเอาการยกย่องดังกล่าวนี้ของเปอร์เซียมาใช้กับผู้ปกครองของเขา นั่นคือ
การยกย่องพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่สาม (336-323 ก่อนคริสตกาล) เมื่อเขาสามารถพิชิต
5
จักรวรรดิเปอร์เซียได้ ซึ่งผู้เขียนตีความว่า เมื่อคำเรียกสถานะดังกล่าวเกิดขึ้นที่ผู้ปกครอง
แห่งเปอร์เซียที่สามารถขยายดินแดนออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้น ยามที่มีผู้ปกครองของ
ดินแดนอื่นสามารถพิชิตเปอร์เซียได้ ก็สามารถและมีความชอบธรรมที่จะเอาสถานะคำเรียก
ดังกล่าวนี้มาเป็นของตน อันเป็นที่มาของ “อเล็กซานเดอร์ผู้ยิ่งใหญ่” หรือที่เรียกว่า “มหาราช”
นั่นเอง และต่อมา บรรดาผู้สืบทอดอำนาจจากอเล็กซานเดอร์ในเปอร์เซีย ก็เรียกสถานะของพวก
ตนว่าเป็น “กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่” แต่เป็นการเรียกภายในสังคมของตนเอง หรือรวมทั้งในกรณีของ
“พระเจ้าอโศกมหาราช” (304-232 ก่อนคริสตกาล) ของอินเดีย
ต่อมา “the Great” ถูกใช้โดยสามัญชนที่ไม่ได้มีสถานะของการเป็นกษัตริย์แต่อย่างใด โดย
เริ่มต้นจากผู้ปกครองและผู้บัญชาการทหารในสาธารณรัฐโรมัน และเมื่อการยกย่องในลักษณะนี้
แพร่หลายมากขึ้น ก็มีการนำมาใช้ยกย่องสามัญชนที่ไม่ได้มีบทบาทในทางการเมือง แต่เป็น
นักปราชญ์อย่าง “อัลเบิร์ตผู้ยิ่งใหญ่” จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของการใช้คำว่า “the
Great” นี้ พบว่า ไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวอย่างไรในการยกย่องให้เป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” หรือ
“มหาราช” อีกทั้งพบว่า ในบางกรณี มีการยกย่องกษัตริย์เฉพาะในช่วงเวลาที่ยังทรงพระชนม์ชีพ
อยู่ แต่เมื่อเสด็จสวรรคตไปแล้ว ก็ไม่ค่อยจะนิยมเรียกขานยกย่องเช่นนั้นอีกต่อไปเช่นในกรณีของ
พระเจ้าหลุยส์ที่สิบสี่ ในขณะที่พระเจ้าเฟรดริคที่สองแห่งปรัสเซียยังทรงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย 3 4 5 6 http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_people_known_as_the_Great
ตลอดมา
6
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_people_known_as_the_Grea
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_people_known_as_the_Great
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_people_known_as_the_Great