Page 286 - kpi15476
P. 286

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   2 5


                            ด้วยวิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” นี้ย่อมช่วยให้มองเห็นธรรมชาติของกลุ่ม
                      การเมืองที่ขัดแย้งกันอย่างโปร่งใสทะลุถึงด้านภายในของแต่ละกลุ่ม คือเป็นตัวช่วยขยายพื้นที่

                      การเมืองของกลุ่มและกลุ่มการเมือง ทำนองคล้ายเห็นป่าทั้งป่าแล้ว ยังเห็นต้นไม้แต่ละชนิดแต่ละ
                      พันธุ์และแต่ละต้นด้วย คือนอกจากบุคคลหรือผู้นำแล้ว ยังแลเห็นแต่ละปีกในกลุ่มต่างๆ เช่น
                      ปีกประนีประนอมของแต่ละกลุ่มในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย

                      สันติวิธี และการเห็นแต่ละปีกในกลุ่มต่างๆนี้ย่อมมีประโยชน์ทั้งในเชิงวิชาการและการปฎิบัติการ
                      ทางสังคม โดยเฉพาะการออกแบบหรือหาหนทางบริหารปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เพราะ

                      เท่ากับช่วยให้เราเรียนรู้และ “รู้เขารู้เรา” ในแต่ละกลุ่ม และเพื่อให้สังคมเรียนรู้และรู้จักกลุ่ม
                      การเมืองและการเมืองของแต่ละกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ก่อนนำมาเป็นบทเรียน


                            มาถึงตรงนี้คือจุดสำคัญของคำถามว่า แล้วเราจะอาศัยความรู้ความเข้าใจจากสมัยรัชกาลที่
                      7 และสมัยต่อมาให้เป็นประโยชน์ต่อไปได้อย่างไร เพื่อให้การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธีกลายเป็น

                      กระแสหลักของสังคมการเมืองไทย คำตอบอาจชัดเจนอยู่แล้วสำหรับหลายท่าน แต่เราทุกคน
                      ทุกภาคส่วนหรือสังคมโดยรวมต้องช่วยกันคือ ทำอย่างไรจึงจะเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้กับ
                      ปีกประนีประนอมของแต่ละกลุ่มได้แสดงบทบาทและอิทธิพลในการบริหารปัญหาความขัดแย้ง

                      อย่างทรงพลังในปัจจุบันและอนาคตต่อไป พร้อมๆ กันนั้นก็ต้องช่วยกันหาทางลดปัญหาระดับ
                      โครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเริ่มต้นจากตัวเราออกไปก่อน คือการปลดปล่อย

                      การมี “สี” ในตัวเราทุกคนให้ลดน้อยลงในระดับที่ไม่เป็นปัญหาใหญ่ต่อไป                                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   281   282   283   284   285   286   287   288   289   290   291