Page 283 - kpi15476
P. 283
2 2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
อยู่ที่คนไทยเราเอง เนื่องจากยังขาดวัฒนธรรมการประนีประนอมหรือการไม่ยอมกันบ้าง อาจมี
ทางแก้ คือยังพอมีความหวังอยู่ เพียงถ้าเราจักการยอมกันบ้าง โดยหันมาทำความเข้าใจซึ่งกัน
และกัน และสร้างการเรียนรู้ทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ แบบ “รู้เขารู้เรา”
การ “รู้เขารู้เรา” คือส่วนหนึ่งของการค้นหาคำตอบในส่วนลึกที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งมิใช่การ
ออกแบบสร้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญที่ขึ้นชื่อว่ามีความเป็น
ประชาธิปไตยมากที่สุด เช่น ฉบับ 2489 ฉบับ 2492 หรือฉบับหลังๆ ล้วนแสดงให้เห็นชัดว่า
มิใช่คำตอบสุดท้าย เพราะผู้ที่มีอำนาจหรือผู้มีบทบาทและอิทธิพลในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ
นั้น มักออกแบบให้ฝ่ายตนได้เปรียบกว่ากลุ่มอื่นๆ เสมอมา จึงไม่แตกต่างไปจากกำเนิดฉบับ
2475 ดังนั้น แทนที่รัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูงจะเป็นกติกาทางการเมืองที่เป็นที่
ยอมรับของทุกฝ่าย กลับกลายเป็นปัญหาระดับโครงสร้างที่ก่อให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง
ตามมาเสมอ เพราะฝ่ายอื่นไม่เอาด้วย เช่น เจ้านายไม่เอาฉบับ 2475 พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่เอา
ฉบับ 2489 และในทางกลับกันฝ่ายพวกปรีดี-เสรีไทยไม่รับฉบับ 2492 ของพรรคประชาธิปัตย์
เช่นกัน
ดังนั้น การค้นหาคำตอบในส่วนลึกที่อยู่ใต้น้ำหรือหลังฉาก จึงมิใช่อยู่ที่ใครเป็นผู้นำหรือการ
รัฐประหาร เพราะเป็นเรื่องปลายเหตุ หากอยู่ที่เรื่องการจัดสรรอำนาจและประโยชน์ของแต่ละ
กลุ่ม โดยการทำความเข้าใจรากฐานของแต่ละคนแต่ละกลุ่มที่เข้ามาเกี่ยวข้องในปัญหาความ
ขัดแย้งนั้นๆ คือด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม พื้นฐานทางวัฒนธรรม แนวคิดและ
องค์ประกอบของแต่ละกลุ่ม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีทั้งส่วนที่คล้ายกันและแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
และในความคล้ายกับความแตกต่างกันนี้ย่อมเป็นที่มาและที่ไปของปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมือง ที่สะท้อนผ่านเรื่องราวความล้มเหลวของประชาธิปไตยและสันติวิธีนับจากสมัยรัชกาลที่
7 เป็นต้นมา และยังคงเป็นมรดกตกทอดมาถึงสมัยปัจจุบันอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับ
เนื้อหาของความขัดแย้งและรูปแบบวิธีการต่อสู้ทางการเมืองที่มักจบลงด้วยการใช้กำลัง แม้ผู้เล่น
กลุ่มต่างๆ จะแปรเปลี่ยนไปอย่างมากแล้วก็ตาม และสังคมไทยยังคงต้องเผชิญกับปัญหานี้ต่อไป
อีกนาน ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการพินิจปัญหาการเมืองแบบใหม่ ทำนองคล้ายกับการ
มองโลกกลมมิใช่แบบ
ปฏิเสธไม่ได้ว่า กระบวนทัศน์ในการอธิบายที่ผ่านมามักตก “หลุมพลาง” หรือติดอยู่กับ
“กับดัก” แห่งการเกิดความรุนแรงอย่างรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม โดยเน้นความล้มเหลวของ
ประชาธิปไตยและสันติวิธีจากแง่บุคคล ซึ่งเป็นปลายเหตุเช่นเดียวกับการเน้นรัฐประหาร เพราะ
พื้นฐานของการอธิบายมุ่งเพียงรูปแบบและเนื้อหาประชาธิปไตยมากกว่ามุ่งพินิจว่าเป็นที่ยอมรับ
ของฝ่ายอื่นหรือไม่ จึงมักเน้นแต่เรื่องการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ คือจมอยู่กับเรื่อง
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ใครเป็นประชาธิปไตยกว่ากัน หรือใครเป็นเผด็จการมากกว่ากัน และที่สำคัญคือ มักแบ่งเพียงฝ่าย
ประชาธิปไตยหรือเผด็จการเป็นหลัก และคำอธิบายก็คงหลีกหนีไม่พ้นตัวบุคคลหรือผู้นำว่า
ทหารกับพลเรือนในการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ หรือการให้ความสำคัญอยู่ที่การปฏิวัติ
รัฐประหารของทหาร ดังเช่นแนวคิดเรื่อง “วงจรอุบาทว์” แต่เอาเข้าจริงแล้วปัญหาความขัดแย้ง
และการต่อสู้ทางการเมืองไทยหลัง 2475 มีพื้นฐานมาจากหลากหลายมิติทับซ้อนกันอยู่ กล่าวคือ