Page 281 - kpi15476
P. 281

2 0     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ทางการเมือง (political meanings) ที่กำกับอยู่เบื้องหลังในความขัดแย้งและการต่อสู้ภายในกลุ่ม
                  ผู้นำไทยนับตั้งแต่ระบอบประชาธิปไตยก่อตัวขึ้นและยังคงเป็นมรดกตกทอดมาในยุคปัจจุบัน


                       ผลการวิเคราะห์จากตัวแปรต่างๆ ข้างต้น สามารถจัดแบ่งผู้นำไทยจำนวน 600 คนนี้
                  ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ด้วยกัน ประกอบด้วยกลุ่มเจ้านาย (100) กลุ่มขุนนางชั้นผู้ใหญ่ (128)

                  คณะราษฎร (114) และที่เหลือ ได้แก่ แกนนำของกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (122) ผู้นำ
                  กลุ่มนักธุรกิจ-การค้าชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน และผู้นำทหาร-ข้าราชการพลเรือนที่สำคัญๆ

                  เช่น คณะรัฐประหาร 2490 เป็นต้น ซึ่งแต่ละกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันอย่างมาก ทั้งในด้าน
                  สถานภาพทางสังคม (status) ฐานะทางเศรษฐกิจ (wealth) และสำนักความคิด (schools of
                  thought) ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบประชาธิปไตยและทิศทางการพัฒนาประเทศ

                  และที่สำคัญคือวิธีการนี้จะช่วยแสดงให้เห็นอย่างเป็นระบบได้ว่า ความแตกต่างกันอย่างมากนั้น
                  เป็นผลสะท้อนโดยตรงมาจากภูมิหลังทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ความคิดและประสบการณ์

                  ที่ไม่เหมือนกันของแต่ละกลุ่ม และกลายเป็นตัวกำหนดทางการเมืองที่สำคัญในการรวมตัว/
                  เกาะกลุ่ม (Factions) ในความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมืองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญที่ก่อตัว
                  ขึ้นหลัง 2475 เป็นต้นมา (ผู้สนใจในรายละเอียดของผู้นำจำนวน 600-1200 คน หรือกลุ่ม

                  การเมือง 4 กลุ่มนี้ หาอ่านได้จากงานของผู้เขียนทั้งในฉบับภาษาอังกฤษและไทย 2005, 2010,
                  2555)



                  4. กลุ่มกับการอธิบายปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้
                  ทางการเมืองไทยหลัง 2475




                       อันที่จริงแล้ว กลุ่มการเมืองไทยสมัยใหม่ก่อตัวขึ้นในช่วงตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง
                  กรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา แต่ในระยะแรกสมาชิกส่วนมากยังคงมาจากกลุ่มผู้นำเดิมหรือ
                  ผู้นำแบบจารีตประเพณี ได้แก่ เชื้อพระวงศ์และตระกูลขุนนางเก่า อย่างไรก็ตามภายหลังการ

                  ปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่นานนัก เริ่มมีสมาชิกมาจากครอบครัวสามัญชนมากขึ้น
                  โดยผ่านระบบการศึกษาและข้าราชการแบบใหม่ ต่อมาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 สมาชิกกลุ่มหลังนี้

                  มีการขยายตัวขึ้นอย่างชัดเจนทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ และเริ่มมีความขัดแย้งกับสมาชิกที่มา
                  จากกลุ่มเจ้านายและขุนนางเก่าในหลายมิติด้วยกัน ที่สำคัญคือเกิดการปะทะทางความคิดทาง
                  การเมืองว่าด้วยการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งท้ายที่สุดได้นำไปสู่เหตุการณ์เมื่อวันที่

                  24 มิถุนายน 2475 ด้วยสันติวิธี เพราะทั้งรัชกาลที่ 7 และคณะราษฎรต่างมีจุดร่วมสำคัญ
                  ประการหนึ่ง คือการมีรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากนั้นกลับเต็มไปด้วยความรุนแรง เนื่องจากแต่ละ

                  กลุ่มมีความคิด ความอ่าน ความต้องการ รวมทั้งจินตนาการเกี่ยวกับระบอบการปกครองใหม่หรือ
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   จัดสรรอำนาจและประโยชน์
                  ประชาธิปไตยไม่เหมือนกันเลย และที่สำคัญคือ แต่ละกลุ่มยังไม่ยอมกันอีกด้วย ทั้งในเรื่องการ




                       ดังนั้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ความขัดแย้งและการปะทะทาง

                  ความคิดในกลุ่มผู้นำสมัยใหม่จึงยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่องและเกิดการแบ่งกลุ่มอย่างชัดเจน โดยมี
                  กลุ่มการเมืองทั้งฝ่ายอำนาจเก่าและใหม่เข้ามาแสดงบทบาทและกลายเป็นตัวแปรสำคัญ
   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286