Page 285 - kpi15476
P. 285
2 4 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
กล่าวอีกทางหนึ่งคือ ความขัดแย้งใน 2 เรื่องนี้ คือการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยและ
ทิศทางการพัฒนาประเทศ และไม่สามารถตกลงหรือประนีประนอมกันได้ ถือเป็นต้นตอของ
ปัญหาการเมืองไทยสมัยประชาธิปไตยและเป็นรากของการเกิดความรุนแรงทางการเมืองหลัง
2475 เป็นต้นมา โดยที่ผู้นำไม่ว่าจะเป็นรัชกาลที่ 7 และผู้นำท่านอื่นๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ต่างก็ไม่สามารถแก้ไขได้และหรือแก้ไม่ตก เนื่องจากผู้นำก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้ เพราะปัญหา
นี้เป็นปัญหาระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวโยงกับผู้คนจำนวนมากหรือทุกกลุ่มการเมือง
ที่ยังไม่สามารถหาข้อยุติตกลงร่วมกันและหรือยังไม่รู้จักการยอมกันบ้าง ดังจะเห็นได้ว่าเรายังไม่มี
รัฐธรรมนูญฉบับใดเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ในขณะเดียวกันการพัฒนาประเทศแบบเดิมยิ่งก่อให้
เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทำให้ความคิด ความต้องการของแต่ละกลุ่มที่แต่เดิมแตกต่าง
กันอยู่มากแล้ว ยิ่งขยายกว้างขึ้นอีก
แต่สิ่งสำคัญคือ เหนือปัญหาระดับโครงสร้างแล้ว ยังมีปัญหาเชิงวัฒนธรรมทับซ้อนอีกด้วย
เพราะทุกกลุ่มหรือแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้งนั้นมักไม่ยอมต่อกันบ้าง ทั้งในเรื่องการ
กำหนดกติกาในรัฐธรรมนูญและการจัดตั้งรัฐบาลหรือการจัดสรรอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ไม่ว่า
จะเป็นกรณีระหว่างเจ้านายกับคณะราษฎร ฝ่ายปรีดี-เสรีไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ทหารกับ
พลเรือน และเหลืองกับแดง ดังที่เริ่มเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 7 และยังคงเกิดซ้ำๆ ในสมัยหลัง
อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบันที่ปรากฏใน “สงครามระหว่างสี” เนื่องจากในขณะที่ฝ่ายชนะแล้ว ยังคง
เอาแต่การกำหนดความได้เปรียบและยืนยันแต่เสียงข้างมาก ขณะที่ฝ่ายแพ้ก็ไม่มีความอดทนพอ
หรือยอมรับความพ่ายแพ้ แต่มักหันออกไปเล่นนอกกติกาแทน จุดจบของเรื่องจึงมักก้าวไม่พ้น
การใช้กำลังต่อกัน และส่งผลให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยยังไปไม่ถึงไหน ดังนั้น
การพยายามจะแก้ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้ เพื่อยุติบ่อเกิดแห่งความรุนแรง จึงต้องตัดรากของ
ปัญหาให้ได้ ซึ่งมิใช่เพียงปัญหาระดับโครงสร้างเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปัญหาเชิงวัฒนธรรมด้วย
ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยใครคนใดคนหนึ่ง จึงเป็นข้อท้าทายในการบริหารจัดการ
วิกฤตการณ์ทางการเมืองของพวกเรา ไม่เฉพาะแต่ผู้นำสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา แต่รวมถึงคน
ไทยทุกคนทุกภาคส่วนจะร่วมมือกันอย่างไร และหรือจะยอมกันบ้างได้หรือไม่ ทั้งในเรื่องการ
จัดสรรอำนาจและประโยชน์
5 บทสรุปและส่งท้าย
ถ้าเราต้องการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาความรู้เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งและการต่อสู้
ทางการเมืองไทยสมัยประชาธิปไตยให้หลุดออก “กับดัก” หรือก้าวข้าม “หลุมพลาง” แห่งการใช้
กำลังความรุนแรงต่อกันแล้ว เราจำเป็นต้องละทิ้งกระบวนทัศน์เดิม เนื่องจากแนวการพินิจปัญหา
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย แสวงหาวิธีคิดใหม่เพื่อทำความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งในมิติที่กว้างและลงลึกกว่าเดิม หรือที่
ต่างๆ ดังกล่าวอยู่ในมิติที่แคบและมีพลังในการอธิบายจำกัดเพียงระดับพื้นผิวน้ำเท่านั้น จึงต้อง
ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง คล้ายทำนองกับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากการมองโลกแบนมาสู่
โลกกลม คือจากตัวบุคคลหรือเฉพาะผู้นำไปสู่วาทกรรมแบบใหม่ คือการอธิบายผ่านกลุ่มตาม
วิธีการ “ปุริสลักขณพยากรณศาสตร์” เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจปัญหาความขัดแย้งทาง
การเมืองระดับโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรมที่อยู่หลังฉากของการใช้กำลังต่อกัน