Page 282 - kpi15476
P. 282

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   2 1


                      ในการเมือง ซึ่งกลุ่มการเมืองนี้อาจมีอย่างน้อย 4 กลุ่มใหญ่ด้วยกันภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญ
                      ที่ก่อตั้งขึ้น กลุ่มแรกนำโดยเจ้านายหรือเชื้อพระวงศ์ อาจเรียกเป็นคณะเจ้านาย (the royal

                      family) กลุ่มที่สองมีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาและพระยาเป็นแกนนำ จัดเป็นกลุ่มขุนนาง
                      เก่า (the aristocracy) กลุ่มที่สามคือคณะราษฎร (the People’s Party) ประกอบด้วย
                      ข้าราชการระดับกลาง-ล่างและอาชีพอิสระ และกลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                      (ประเภทหนึ่ง) หรืออาจจัดเป็นกลุ่มผู้นำท้องถิ่น (the local elite) ประกอบด้วยผู้คนหลากหลาย
                      ทางภูมิหลังจากหัวเมืองหรือชายขอบ ตั้งแต่ตระกูลเจ้าเมืองเก่า ข้าราชการระดับกลาง-ล่าง พ่อค้า

                      ชาวจีนและลูกหลานชาวนา

                            กลุ่มการเมืองทั้ง 4 กลุ่มนี้มีทั้งส่วนที่เคยมีบทบาทและอิทธิพลในระบอบเก่าและผู้ที่มากับ

                      ระบอบใหม่ทั้งส่วนกลางและชายขอบ และถือเป็นผู้เล่นหลักในการเมืองสมัยรัชกาลที่ 7 และยัง
                      เป็นผู้ที่มีบทบาทและอิทธิพลในการเมืองไทยต่อเนื่องตลอดช่วง 20 ปีแรกของก่อตัวระบอบการ

                      ปกครองใหม่หลังปี 2475 และแน่นอนว่า พวกเขาย่อมเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องราว
                      ของความสำเร็จและความล้มเหลวของแนวทางสันติวิธีและการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                      ทั้งในฐานะผู้สร้างเงื่อนไขและหรือในฐานะผู้พยายามปรับเปลี่ยนเงื่อนไขนั้นให้เป็นไปตามหลักการ

                      และความต้องการของแต่ละฝ่าย โดยอาจมีทั้งการต่อสู้ตามวิถีทางรัฐสภา และการต่อต้านด้วย
                      การใช้กำลังความรุนแรง พร้อมด้วยเหตุผลที่จะกล่าวฝ่ายตรงข้ามว่าไม่เป็นประชาธิปไตย แต่

                      สิ่งสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ สะท้อนให้เห็นชัดว่าทุกกลุ่มยังไม่รู้จักยอมกันบ้าง ทั้งในเรื่องการจัดสรร
                      อำนาจและผลประโยชน์ จึงเกิดการไม่ยอมรับซึ่งกันและกันเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีคู่ระหว่าง
                      ทหารกับพลเรือน และฝ่ายพลเรือนด้วยกัน ดังนั้นประเด็นพื้นฐานทางหลักการและเหตุผลที่ถูก

                      หยิบยกขึ้นในการต่อสู้ของเรื่องนี้คงหลีกเลี่ยงไม่พ้น ใครเป็นฝ่ายประชาธิปไตยหรือใช้แนวทาง
                      สันติวิธีคือพระเอก และใครเป็นฝ่ายตรงกันข้ามย่อมกลายเป็นผู้ร้ายนั่นเอง


                            แต่ควรตระหนักและเข้าใจร่วมกันไว้ว่าในทางการเมืองแล้ว เส้นขีดแบ่งระหว่างผู้ร้ายกับ
                      พระเอกนั้นบางมากๆ เพราะเส้นแบ่งระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการและสันติวิธีกับความ

                      รุนแรงก็เป็นเช่นนั้นจริง โดยเฉพาะในบริบทของสังคมการเมืองไทย ฉะนั้นจึงไม่ควรมุ่งการมอง
                      พินิจแต่พระเอกกับผู้ร้าย หรือเพียงรูปแบบและเนื้อหาทางประชาธิปไตยกับเผด็จการ และสันติวิธี

                      กับการใช้กำลังเท่านั้น เพราะเป็นเพียงมายาภาพของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางการเมือง
                      ที่ปรากฏขึ้นบนระดับผิวน้ำ แต่ควรต้องทำความเข้าใจบริบทและข้อเท็จจริงที่อยู่เบื้องหลังของฉาก
                      มากกว่า หรือสิ่งที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นในระดับใต้น้ำว่า กลุ่มการเมืองทั้ง 4 นั้นมีปัญหาความ

                      ขัดแย้งหลักๆ เรื่องอะไร ทำไมพวกเขาจึงไม่สามารถตกลงหรือประนีประนอมกันได้ และการ
                      ตกลงกันไม่ได้นี้มีความสำคัญอะไรกับพวกเขาในสมัยนั้นซึ่งมักจบลงด้วยการใช้กำลัง และยัง

                      ส่งสารมีความหมายสำหรับเราในสมัยปัจจุบันหรือไม่ อย่างไร

                            กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยหรือการแก้ไขปัญหาความ

                      ขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธีก็ดี มีสาเหตุพื้นฐานหรือปัญหาหลักอยู่ตรงไหน คืออยู่ที่ตัวระบบ
                      การเมืองที่นำเข้าหรืออยู่ที่คนไทยเราเอง ถ้าอยู่ที่ตัวระบอบประชาธิปไตย อาจเถียงกันไม่รู้จบ          เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่ามีตัวแบบประชาธิปไตยให้เลือกให้อ้างกันได้มากกว่า 300 แบบ แต่ถ้า
   277   278   279   280   281   282   283   284   285   286   287