Page 350 - kpi15476
P. 350
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 349
ท้องถิ่น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะกลไกทางด้านกฎหมายและระเบียบที่ต่างมีความยุ่งยากซับซ้อน
และไม่เอื้อต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และอีกส่วนหนึ่ง อาจเป็นที่ตัวภาค
ประชาชนเองที่ยังคงให้ความสนใจกับการมีส่วนร่วมไม่มากนัก
จากแนวโน้มและสภาพข้อจำกัดข้างต้น การเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย
อาจจำเป็นต้องมีการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้ เพื่อเป็นการลัดปัญหาและข้อจำกัดที่กล่าวมา
ข้อแรก การปรับปรุงระบบราชการไปสู่สภาวะธรรมาภิบาลจำเป็นต้องมีการศึกษาและ
วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดของระบบราชการไทยที่ครอบคลุมและลึกซึ้ง รวมทั้งต้องให้
ความสำคัญกับมิติอื่นๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของธรรมาภิบาล เช่น ความโปร่งใส เป็นธรรม
การสนองตอบต่อภาคส่วนต่างๆ ในสังคม
ข้อที่สอง ต้องเร่งสร้างประเด็นเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นที่ตระหนักจากทั้งฝ่าย
การเมืองและข้าราชการประจำ ทั้งนี้เพราะแม้ว่าดุลความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองและ
ข้าราชการประจำจะเปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม ตราบเท่าที่ฝ่ายการเมือง และข้าราชการประจำมี
คุณธรรมจริยธรรมที่สูงส่งแล้ว การลุแก่อำนาจ หรือการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์เฉพาะตัว
เฉพาะกลุ่ม ก็จะไม่เกิดขึ้น และข้าราชการประจำที่มีคุณธรรมจริยธรรม ก็จะไม่ตกเป็นเครื่องมือ
ให้กับฝ่ายการเมือง
ข้อที่สาม การปรับปรุงกลไกและองค์กรตามความจำเป็น กระบวนการปฏิรูปมักเป็น
กระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลา ดังนั้น หากพบว่ากลไกหรือองค์กรในการเสริมสร้างธรรมา-
ภิบาลใดยังขาดความเหมาะสม การทบทวนการทำหน้าที่ของกลไก หรือบทบาทขององค์การ
เหล่านั้น เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น ก็อาจเป็นสิ่งที่จำเป็นควรต้องดำเนินการ
ข้อที่สี่ ต้องสร้างสำนึกพลเมืองให้แก่ภาคประชาชน ในข้อนี้คือทุกภาคส่วนต้องช่วยกันสร้าง
วัฒนธรรมและค่านิยมใหม่ให้แก่ภาคประชาชน โดยมุ่งให้ภาคประชาชนมีการตระหนักรู้ถึงสิทธิ
หน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อส่วนรวม รวมทั้งมีความตื่นตัวที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
ผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าการดำเนินการในข้อนี้ จำเป็นต้องใช้ระยเวลา ความอดทน และ
การดำเนินการที่มีความต่อเนื่อง
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย