Page 349 - kpi15476
P. 349

34      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  บทสรุป: แนวโน้มและข้อจำกัดของการเสริมสร้าง
                  ธรรมาภิบาลในระบบราชการไทย




                       การทบทวนถึงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในระบบราชการไทยที่มีจุดเริ่มต้นชัดเจนในช่วง
                  หลังปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมาหลังจากเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองนั้น ได้ทำให้เรา

                  เห็นว่า ณ วันนี้ ระบบราชการไทยได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาลอยู่มากพอ
                  สมควร โดยได้มีการพัฒนาระบบ กลไก รวมถึงองค์กรต่างๆหลายองค์กรเพื่อช่วยทำหน้าที่ในการ

                  เสริมสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในระบบราชการไทย อย่างไรก็ตาม หากเราพิจารณาถึงความ
                  เปลี่ยนแปลงดังกล่าว เราย่อเห็นถึงแนวโน้มและข้อจำกัดของประเด็นดังกล่าวอยู่หลายประการ
                  ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ


                       ในระดับแนวคิดของการสร้างธรรมาภิบาลให้กับระบบราชการ เราจะเห็นได้ถึงความ
                  พยายามของรัฐบาลในการปฏิรูปกลไกระบบราชการภายใต้กรอบแนวทางของธรรมาภิบาล แต่

                  ทว่าในการดำเนินการนั้น รัฐบาลกลับมุ่งให้ความสำคัญแต่เรื่องของการจัดทำแผน การออกมติ
                  คณะรัฐมนตรี ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆมารองรับ รวมถึงการประชุมสัมมนาเรื่องการปฏิรูป

                  ระบบราชการ มากกว่าที่จะวิเคราะห์ถึงผลได้ ผลเสีย รวมถึงผลกระทบของการปฏิรูประบบ
                  ราชการที่อาจจะเกิดขึ้นกับภาคส่วนต่างๆ นอกจากนั้น ในการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการ
                  รัฐบาลก็มุ่งเน้นมิติด้านประสิทธิภาพของระบบราชการเป็นอันดับต้น โดยกล่าวถึงประเด็นเรื่อง

                  ความโปร่งใส ความรับผิดชอบ การสนองตอบต่อประชาชน ของภาคราชการเป็นลำดับรอง


                       ในมิติด้านดุลความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำ การศึกษา
                  ทำให้เราเห็นว่าการปฏิรูปการเมืองในช่วงหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้ทำให้ฝ่ายการเมือง

                  ที่มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจและความเข้มแข็งมากขึ้น จนสามารถควบคุมฝ่ายข้าราชการประจำ
                  ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่ปรากฏการณ์ดังกล่าวกลับทำให้ข้าราชการประจำโดย
                  ส่วนใหญ่ทำหน้าที่ของตนโดยมุ่งสนองตอบต่อนโยบาย และความต้องการของฝ่ายการเมืองเป็น

                  สำคัญ โดยอาจไม่ให้ความสนใจกับภาคประชาชนมากนัก เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้น ข้าราชการ
                  ประจำอาจถูกลงโทษหรือโยกย้าย


                       ในมิติด้านความเหมาะสมและศักยภาพของโครงสร้างและกลไก เราก็จะเห็นได้ว่าผลของ
                  การปฏิรูปการเมืองนำมาซึ่งการสร้างกลไกและการจัดตั้งองค์กรใหม่ๆขึ้นจำนวนมาก แต่ทว่าหาก

                  เราพิจารณาถึงการทำงานของโครงสร้างและกลไกเหล่านั้นในทางปฏิบัติแล้ว เรายังอาจเห็นว่า
                  กลไกหลายอย่างอาจยังไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเต็มศักยภาพ เช่น กลไกใน
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ภาพ รวมถึงองค์กรอิสระบางองค์กรที่มีข้อจำกัดในการทำหน้าที่ด้วยเช่นเดียวกัน
                  การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้มีการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน ที่มี
                  ลักษณะเป็นการป้องปรามการทุจริตเท่านั้น ไม่สามารถที่จะควบคุมฝ่ายการเมืองได้อย่างมีปะสิทธิ




                       ในมิติด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ก็พบกับปัญหาเช่นกันว่าประชาชนยังคงมีบทบาท

                  ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองและการบริหารที่จำกัดทั้งในระดับชาติและ
   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354