Page 348 - kpi15476
P. 348
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 34
ริเริ่มและผลักดันให้กลายเป็นกฎหมายได้สำเร็จ (บุญเสริม นาคสาร, การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชน: ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง, http://www.pub-
law.net/publaw/view.aspx?id=697, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 6 ตุลาคม 2556) หรือแม้แต่ในกรณีของ
การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดที่โดยระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้กำหนดให้ในการจัดทำ
แผน ทางจังหวัดจะต้องมีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ
แผนก็ตาม แต่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ก็จะพบว่าเอาเข้าจริงแล้วการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดนั้น
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่บุคลากรของทางจังหวัดเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้ามามีบทบาทนำในการ
จัดทำแผน
ปรากฏการณ์เช่นว่านี้มิได้ปรากฏให้เห็นได้แต่เพียงในระดับชาติเท่านั้น ปรากฏการณ์การมี
ส่วนร่วมของประชาชนในระดับท้องถิ่นก็ยังคงมีปัญหาเช่นกัน ดังเช่น ในงานศึกษาวิจัยของ
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำการศึกษาและประเมินความ
ก้าวหน้าของการกระจายอำนาจในประเทศไทยนั้น ได้บ่งชี้ให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการบริหารงานระดับท้องถิ่นยังเป็นปัญหาและจุดอ่อนที่สำคัญข้อหนึ่ง กล่าวคือ การมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการบริหารงานของท้องถิ่นที่เป็นอยู่ มักมีลักษณะของการมีส่วนร่วมที่เน้นไปที่
รูปแบบแต่ไม่ได้สนใจประเด็นเกี่ยวกับเนื้อหาหรือคุณภาพของการมีส่วนร่วมมากนัก โดยในการ
ทำประชาคมประกอบการจัดทำแผนแผนการพัฒนาท้องถิ่นมักเน้นไปที่การทำประชาคมให้ครบ
กระบวนการตามระเบียบที่กำหนดเอาไว้เท่านั้น โดยอาจเป็นการระดมประชาชนให้เข้ามามี
ส่วนร่วมในกระบวนการ หรือบางครั้งการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนตัวประชาชนเองอาจขาด
ความรู้ความเข้าใจในประเด็นที่พวกเขาเข้ามามีส่วนร่วม อย่างเช่น การที่ประชาชนเข้ามามีส่วน
ร่วมเป็นคณะกรรมการในการตรวจรับการจัดซื้อจัดจ้าง ประชาชนอาจขาดความรู้ความเข้าใจว่า
วิธีการในการจัดซื้อจัดจ้างต้องมีการดำเนินการอย่างไร (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2552 : 114)
ซึ่งประเด็นการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นที่จำกัดนี้ ยังรวมไปถึงกรณีของการเสนอ
ข้อบัญญัติของท้องถิ่น และการถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นด้วย กล่าวคือ ในกรณี
ของการเสนอข้อบัญญัติของท้องถิ่นนนั้น นับตั้งแต่มีการผ่านกฎหมายดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ.
2542 จวบจนถึงปี พ.ศ. 2555 ยังไม่มีกรณีใดที่ประชาชนสามารถเสนอข้อบัญญัติของท้องถิ่นได้
สำเร็จ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่ากระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้ง่าย
นัก ทั้งในแง่ของผู้เข้าชื่อ การการจัดทำร่างข้อบัญญัติประกอบกระบวนการพิจารณาของสภา
ท้องถิ่น ส่วนในกรณีของการถอดถอนผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้น เราจะเห็นได้ว่าการร้อง
ของให้มีการถอดถอนและการถอดถอนผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เกิดขึ้นไม่บ่อย
นัก โดยมีการร้องขอทั้งหมด 10 กรณี (นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2555) โดยเป็นการดำเนิน
การถอดถอนสำเร็จเพียง 3 กรณีเท่านั้น อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงหลังการร้องขอให้มี
การถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นเกิดบ่อยครั้งขึ้นกว่าในระยะแรกๆ (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ 2555 :
205-209) เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย