Page 347 - kpi15476
P. 347
34 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
ดังที่ประธาน ป.ป.ช. ได้ออกมารายงานว่า ในรอบ 6 เดือน (ระหว่าง1 ตุลาคม 2555 - 18
มีนาคม 2556) มีเรื่องคงเหลือ 8,373 เรื่อง แบ่งเป็น เรื่องที่อยู่ระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง
6,862 เรื่อง และ เรื่องที่อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริง 1,511 เรื่อง เช่นเดียวกันกับในกรณี
ของการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน ที่มีจำนวนบัญชีที่ค้างการตรวจสอบอยู่ถึง 49,259 บัญชี
(สำนักข่าวอิศรา, ป.ป.ช.แถลงผลงาน คดีค้างอื้อ 8 พันคดี-บัญชีทรัพย์สินค้าง 5 หมื่นบัญชี,
WWW.ISRANEWS.ORG/ISRANEWS-SCOOP/ITEM/20043-NACC-SP-1531974912.HTML ,
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2556) ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่ค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
บุคลากรของสำนักงาน ป.ป.ช. เอง
การมีส่วนร่วมของประชาชนกับธรรมาภิบาล
ในระบบราชการไทย
หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการเสริมสร้างธรรมาภิบาล ก็คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของภาคประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้พยายามกำหนด
ช่องทางให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในหลายช่องทางด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ช่องทางที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเอาไว้และถือว่าเป็นการสร้าง
ปรากฏการณ์ทางการเมืองใหม่ที่อาจถือได้ว่าเป็นความพยายามที่จะปฏิรูปการเมือง ก็คือ สิทธิใน
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย สิทธิในการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติของท้องถิ่น สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอ
ให้มีการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สิทธิในการเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนผู้บริหาร
ท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น สิทธิการออกเสียงประชามติ และสิทธิการมีส่วนร่วมใน
กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (บุญเสริม นาคสาร, การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชน: ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง, http://www.pub-
law.net/publaw/view.aspx?id=697, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 6 ตุลาคม 2556)
นอกจากบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแล้ว ในความเป็นจริงทางการบริหาร ยังมี
กฎหมายและระเบียบอีกหลายฉบับที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ
บริหารจัดการในประเด็นนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในลักษณะของการให้หรือเปิดเผย
ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ การวางแผนหรือตัดสินใจร่วมกันระหว่างภาครัฐและประชาชน
ดังจะเห็นได้จากการออกพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หรือการกำหนดแนวทาง
และขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด หรือแผนพัฒนาท้องถิ่น ที่กำหนดเอาไว้ว่ากระบวนการ
ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงออกซึ่งความต้องการ เป็นต้น
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย ประชาชนในทางการเมืองที่บัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างหลากหลายนั้น อาจไม่ใช่สิ่งที่
อย่างไรก็ตาม ในข้อเท็จจริงทางปฏิบัติเรากลับจะพบได้ว่ากระบวนการการมีส่วนร่วมของ
สามารถดำเนินการได้ง่ายนัก อย่างเช่น ในกรณีของการให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อเพื่อเสนอให้มี
การออกกฎหมายนั้น เอาเข้าจริงแล้วในช่วงระยะเวลา 6 ปี หลังจากการผ่านพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2542 กลับยังไม่มีร่างกฎหมายฉบับใดเลยที่ภาคประชาชน