Page 346 - kpi15476
P. 346

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   345


                            หากมองโดยภาพรวม อาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกลไกและองค์กรขึ้นมาเพื่อช่วยกันสร้าง
                      หลักประกันด้านธรรมาภิบาลดังที่กล่าวมานี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีและควรต้องดำเนินการอย่างจริงจัง

                      ก็ตาม แต่หากลองพิจารณาให้ลึกลงไปในรายละเอียดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความเหมาะสม
                      และศักยภาพของกลไกและองค์การเหล่านี้แล้ว ก็จะเห็นได้ว่ากลไกและองค์กรด้านการเสริมสร้าง
                      ธรรมาภิบาลยังคงเผชิญกับปัญหาและจุดอ่อนอยู่มากพอสมควร อย่างเช่น ในประการแรก

                      หากเราเปรียบเทียบระหว่างกลไกการกำกับและควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง
                      กับข้าราชการประจำแล้ว เราจะเห็นได้ว่าข้าราชการประจำนั้น จะถูกควบคุมและกำกับโดยกลไกที่

                      มีความครอบคลุมและมีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฝ่ายการเมือง นั่นก็คือ
                      มาตรการทางด้านวินัยของข้าราชการ ภายใต้มาตรการดังกล่าวถือกันว่า “วินัยของข้าราชการ”
                      เป็นสิ่งที่มีขึ้นเพื่อควบคุมให้ข้าราชการทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ระเบียบ แบบแผน และ

                      ความประพฤติที่ทางราชการได้กำหนดไว้ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นทั้งข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ
                      (สถาบันดำรงราขานุภาพ 2554 : 9-10) วินัยข้าราชการเป็นการบัญญัติขึ้นตามพระราชบัญญัติ

                      ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ซึ่งมีการกำหนดโทษทางวินัยไว้เป็น 5 สถาน อันได้แก่
                      ภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดเงินเดือน ปลดออก และไล่ออก (สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงาน
                      ปลัดกระทรวงมหาดไทย 2554 : 7) ในขณะที่การกำกับและควบคุมฝ่ายการเมือง อาจเป็น

                      มาตรการทางการเมืองและกฎหมายที่มีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นๆ ที่
                      เกี่ยวข้อง เช่น การถอดถอน หรือการให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและ

                      หนี้สิน ซึ่งมาตาการเหล่านี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้นักการเมืองกระทำความผิด
                      หรือทุจริตต่อหน้าที่มากกว่าที่จะเป็นการกำหนดถึงข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติแบบเดียวกันกับวินัย
                      ของข้าราชการ นอกจากนั้น การดำเนินการตามกระบวนการเหล่านี้ ยังมีทั้งโอกาสและช่องว่างให้

                      นักการเมืองสามารถต่อสู้หรือแม้แต่หลบหนีความผิดได้ ดังกรณีที่เห็นประจักษ์ชัดในสังคมอยู่
                      หลายกรณี


                            เพราะฉะนั้น ในประเด็นนี้จึงพอที่จะกล่าวได้ว่ามาตรการที่สำคัญของภาครัฐในการกำกับ
                      และควบคุมกระบวนการการทำงานของฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำนั้น เรายังคงขาด

                      มาตรการที่เข้มข้นและรัดกุมเพียงพอสำหรับการกำกับและควบคุมฝ่ายการเมือง ทั้งๆ ที่ฝ่าย
                      การเมืองในปัจจุบันมีดุลอำนาจที่เหนือกว่าฝ่ายข้าราชการประจำดังที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้

                      รวมทั้งแนวโน้มของการทุจริต ที่มีแนวโน้มแสดงให้เห็นว่านักการเมืองระดับสูงกำลังเป็นต้นเหตุ
                      สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
                      แห่งชาติ, รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประจำปี

                      2553, http://www.nacc.go.th/download/article/article_20130320170322.pdf, เข้าถึงข้อมูล
                      เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2556)


                            นอกจากประเด็นด้านความเหมาะสมของกลไกที่ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลดังที่
                      ได้ยกตัวอย่างมาข้างต้นแล้ว หากมองในเชิงศักยภาพและขีดความสามารถขององค์กรต่างๆ ที่ทำ

                      หน้าที่ ก็อาจทำให้เราเห็นถึงข้อจำกัดในเรื่องศักยภาพของหน่วยงานเหล่านี้เมื่อเปรียบเทียบกับ
                      ข้อร้องรียนที่เกิดขึ้น ด้วยเช่นกัน เช่น ในกรณีของคณะกรรมการป้องกันและปรามการทุจริต                 เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย

                      แห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีรายงานข่าวรายงานสถิติของเรื่องร้องเรียนที่ค้างอยู่เป็นจำนวนมาก
   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351