Page 345 - kpi15476
P. 345

344     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       การที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบและสนองตอบต่อฝ่ายการเมืองของ
                  ท้องถิ่นเป็นอันดับแรก อาจไม่ใช่ความเสียหายอะไรร้ายแรง หากว่าผู้บริหารซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง

                  ของท้องถิ่นแห่งนั้นๆยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล เพราะที่สุดแล้วฝ่ายการเมือง
                  ของท้องถิ่นก็จะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในท้องถิ่นอยู่ดี ดังนั้น ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ทำงาน
                  สนองฝ่ายการเมือง ก็เท่ากับว่าต้องทำงานโดยรับผิดชอบและสนองตอบต่อความต้องการของ

                  ประชาชนในท้องถิ่นโดยอ้อม แต่ในทางกลับกัน หากผู้บริหารที่เป็นฝ่ายการเมืองของท้องถิ่น
                  ไม่สนใจหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตยหรือธรรมาภิบาลของท้องถิ่น และบริหารองค์กร

                  ปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเล็งเห็นแต่เพียงประโยชน์เฉพาะตน เฉพาะกลุ่มด้วยแล้ว ฝ่ายข้าราชการ
                  ประจำก็จะกลายเป็นมือไม้ที่คอยอำนาวยความสะดวกให้กับฝ่ายการเมืองของท้องถิ่นในการ
                  แสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเอง และพวกพ้องเท่านั้น ซึ่งปรากฏการณ์อย่างหลังนี้เอง ที่ถือเป็น

                  เรื่องอันตรายต่อระบบราชการและการเมืองโดยรวม


                  ความเหมาะสมและศักยภาพของกลไกในการเสริมสร้าง

                  ธรรมาภิบาล



                       ดังที่ได้กล่าวมาตั้งแต่ต้นแล้วว่ากระแสของการปฏิรูปการเมืองในช่วงหลังปี พ.ศ. 2535

                  รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความ
                  พยายามเสริมสร้างธรรมาภิบาลทางด้านการเมืองและการบริหารให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เราจะ

                  เห็นได้ว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้เกิดความพยายามในการสร้างกลไกหรือสถาปนาองค์กร
                  ใหม่ๆขึ้นหลายองค์กรเพื่อให้กลไกและองค์กรเหล่านั้นช่วยสร้างหลักประกันหรือเป็นตัวเร่งให้เกิด
                  ธรรมาภิบาลทางด้านการเมืองและการบริหาร


                       หากพิจารณาถึงกลไกและองค์กรต่างๆที่กล่าวถึง เราจะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวได้มี
                  ความพยายามในการผ่านกฎหมายที่สำคัญอย่างน้อย 3 ฉบับ ที่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยทำให้

                  กลไกของรัฐรวมถึงระบบราชการมีลักษณะเปิดเผย โปร่งใส และรับผิดชอบมากขึ้น กฎหมาย
                  ที่สำคัญทั้ง 3 ฉบับนั้น ก็คือ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 พระราช-

                  บัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ
                  ราชการ พ.ศ. 2540 นอกจากกฎหมายสำคัญทั้ง 3 ฉบับแล้ว บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทยยังได้มีส่วนในการสถาปนาองค์กรอิสระอีกจำนวนหนึ่งขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการ

                  กำกับและตรวจสอบการใช้อำนาจของกลไกรัฐ ไม่ว่าจะเป็น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง
                  ตำแหน่งทางการเมือง ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

                  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินแห่ง
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   เฉพาะรวมถึงระเบียบหลักเกณฑ์ต่างๆของตนเองในการทำหน้าที่ นอกจากนั้น รัฐธรรมนูญฉบับ
                  รัฐสภา (วสันต์ เหลืองประภัสร์ 2556 : 205-210) ซึ่งองค์กรอิสระเหล่านี้ ก็จะมีกฎหมาย



                  เดียวกันนี้ยังช่วยสร้างกลไกอื่นๆเพื่อช่วยในการสร้างหลักประกันด้านธรรมาภิบาลอีก เช่น กลไก
                  การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การให้ประชาชนสามารถริเริ่มเสนอกฎหมาย เป็นต้น
   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350