Page 363 - kpi15476
P. 363
3 2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
> พ.ร.บ.ว่าด้วยการสั่งโบราณและศิลปวัตถุออกนอกประเทศ พ.ศ.2469 ประเทศ
ที่เจริญรุ่งเรือง ย่อมถือว่าโบราณและศิลปวัตถุ อันเนื่องในเรื่องพงศาวดาร ฤๅเนื่องในศิลปะ
ศาสตร์ของประเทศเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรัฐบาลควรเอาเป็นธุระรักษาไว้เพื่อประโยชน์แห่งความรู้ และ
การศึกษาของประชาชนในประเทศนั้นๆ จึงจัดตั้งพิพิธภัณฑ์สถาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งพิพิธภัณฑ์
ในปีเดียวกัน รวบรวมรักษาโบราณและศิลปวัตถุไว้สำหรับบ้านเมืองให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ทรงตั้งราชบัณฑิตสภาเป็นพนักงานตรวจตรา รักษาโบราณและศิลปวัตถุ เพราะความปรากฏว่า
ตั้งแต่ก่อนมาจนทุกวันนี้มีผู้ชอบหาโบราณและศิลปวัตถุในพระราชอาณาเขตแล้วพาออกนอก
ประเทศไปเนืองๆ ทรงพระราชดำริว่า ถ้าปล่อยให้เป็นไปเช่นนั้น โบราณและศิลปวัตถุซึ่งเป็น
สิ่งสำคัญสมควรจะรักษาไว้ สำหรับบ้านเมืองก็จะสูญเสีย
การมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองโบราณและศิลปวัตถุ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและ
สมบัติของชาตินี้ เป็นการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรมของคนในชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็น
ชาติที่รุ่งเรือง และทำให้สังคมมีความมั่นคง นับเป็นการพัฒนาสังคมที่สำคัญยิ่ง
> พ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย อันกระทบถึงความปลอดภัย หรือผาสุกแห่ง
สาธารณชน พ.ศ.2471 โดยที่ทรงพระราชดำริว่า พาณิชย์และอุตสาหกรรมของประเทศได้
วิวัฒนาการถึงซึ่งความจำเป็นที่จะต้องกำหนดการควบคุมกิจการค้าขายทั้งหลาย อันกระทบถึง
ความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งสาธารณชน เพื่อความคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของพสกนิกร
ให้เป็นที่เรียบร้อยสืบไป
ห้ามมิให้บุคคลผู้ใดประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภคในสยาม เว้นแต่จะ
ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต หรือสัมปทานแล้วหรือ เมื่อพระบรมราชานุญาตหรือ
สัมปทานที่ได้ไว้นั้น ถูกถอนเสียหรือสิ้นอายุลงแล้วกิจการที่ถือว่าเป็นกิจการค้าขายอันเป็น
สาธารณูปโภคตามความหมายแห่ง พ.ร.บ.นี้ คือการรถไฟ รถราง ขุดคลอง เดินอากาศ ประปา
ชลประทาน โรงไฟฟ้า และบรรดากิจการอื่นอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุกแห่งประชาชน
ซึ่งจะได้ออก พ.ร.ก. ระบุไว้ตามยุค
ห้ามมิให้บุคคลผู้ใดประกอบกิจการประกันภัย ธนาคาร ออมสิน เครดิตฟองซีเอ
หรือกิจการอื่นอันมีสภาพคล้ายคลึงกันในกรุงสยาม เว้นแต่ จะได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายเฉพาะการนั้น
พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นธรรมราชาดังที่กล่าวถึงข้างต้นได้แสดงพระองค์ว่าทรง
คำนึงถึง “ประชาชนเป็นสำคัญ” ซึ่งสอดรับกับปรัชญาพื้นฐานของความเท่าเทียมตามหลักสิทธิ
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย - ความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องสีผิว เชื้อชาติ เพศ หรือการได้รับการปฏิบัติอย่าง
มนุษยชนอันเริ่มต้นจากข้อถกเถียงที่มุ่งคัดค้านการปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่เท่าเทียมกัน
อย่างไร้เหตุผล เช่น
ไม่เท่าเทียมกันทางกฎหมาย การกีดกันไม่ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม
กันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายหรือคนที่ร่ำรวย มีสิทธิพิเศษเหนือคนยากจน
ในขบวนการพิพากษาความผิดทางกฎหมาย