Page 450 - kpi15476
P. 450
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 449
เดือนมีนาคม นักเขียนอิสระคนหนึ่งเสียดสีว่า ผู้มีอำนาจทางการเมืองจะสนใจหาอนุภรรยามาก
กว่าจะ “รักษาสัญญา” และ “เดินหน้าเรื่องการปฏิรูป” ในเดือนเมษายน นักเขียนอธิบายถึงการ
ริเริ่มของรัชกาลที่ 7 ว่า ดำเนินการแบบ “ปัดกวาดบ้านเมือง” โดยกลุ่มคนที่ “ใช้เวลามากกว่า
ปกติในการรักษาอำนาจตำแหน่งของพวกเขามากกว่าจะรักษาสิทธิของพลเมือง” เพราะคนที่มี
ความสุขอยู่กับอำนาจและเคยชินกับการครอบครองอำนาจมักจะไม่ค่อยยอมรับกับการลดอำนาจ
แม้ว่าเขาตั้งใจที่จะทำงานเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนก็ตาม
บทสรุป
การส่งเสริมคติธรรมราชาในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถประจักษ์ได้ จากพระราช
กรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ดังปรากฏในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัวข้างต้น อาทิ การบูรณะและปฏิสังขรณ์พระอารามสำคัญ ได้แก่ วัดพระศรีรัตน-
ศาสดารามอันเป็นพระอารามในพระบรมมหาราชวังและวัดสุวรรณดารารามอันเป็นพระอาราม
ประจำพระราชวงศ์จักรี เป็นต้น
ผู้วิจัยได้วางกรอบของการปรับใช้คติธรรมราชาในสังคมไทยออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ
สูง เกี่ยวข้องกับพระราชสถานะของกษัตริย์ผู้ทรงกอร์ปด้วย ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรและ
สังคหวัตถุ 4 ระดับกลาง ในฐานะปรัชญาของผู้ปกครองหรือนักบริหาร หัวหน้าหน่วยงาน ซึ่งต้อง
ยึดหลักธรรมเช่นเดียวกัน และระดับล่าง ในฐานะหลักธรรมของพ่อบ้านผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว
คดีการวิวาทระหว่างหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์กับนายจงใจภักดิ์ อย่างน้อยก็สะท้อนให้เห็น
การขาดหลัก “มัทวะ” ความอ่อนโยนของชนชั้นปกครองระดับ “อธิบดี” ของราชบัณฑิตยสถาน
ซึ่งต่อมาแยกออกไปเป็นกรมศิลปากร ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นการขาดความอดทนอดกลั้น
ต่อความโกรธ(อักโกธะ)ของพ่อบ้านอย่างนายจงใจภักดิ์ ซึ่งกำลังจะพาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อน
ชายทะเล ทำให้แลเห็นได้ว่าสังคมขณะนั้นก็มีการ “ไม่ยอมให้กันและกัน” ผสมผสานอยู่ไม่ต่างไป
จากปัจจุบัน
การท้าทายคติธรรมราชาของปัญญาชนตัวเล็กๆ อย่างนายถวัติ ฤทธิเดชผู้อหังการ แต่กลับ
ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ จนเป็นที่ซาบซึ้งแก่ผู้ท้าทายทศพิธราชธรรมและแผ่ไปถึงพสกนิกร
ร่วมสมัย มหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นยังรวมถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่พสกนิกรไทยอย่าง
สันติด้วย
นักปราชญ์โบราณได้ปลูกฝัง “คติธรรมราชา” ให้เกิดขึ้นกับชนทุกหมู่เหล่าผ่านคำสอน
ทางพระพุทธศาสนา การห่างเหินต่อศาสนาในปัจจุบัน อาจทำให้คนบางกลุ่มถามหาความเป็น
ธรรมราชาจากอีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่อาจจะลืมถึงความเป็น “ธรรมราชา” ในฝ่ายของตนไปอย่าง
น่าเสียดาย
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย