Page 445 - kpi15476
P. 445

444     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  เจ้ากิ่งกระแบก นี่ครั้งกรุงยังไม่แตก คุณพระต้องแหลกเปนผี....” แล้วนายเสือเตี้ยก็รายงาน
                  พระราชวินิจฉัยในเนื้อร้องลำตัดบทเดียวกันว่า “....พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพิจารณ์

                  ทั่ว ในสำนวนคดี  เห็นนายจงใจภักดิ์ ประพฤติกักขลาการ  จึงทรงพระโปรดปรานให้ถอดศักดิ์
                  ทันที”

                       ส่วนโทษพระอภัยวงศ์วรเสรฐผู้พี่นั้น ในเนื้อร้องลำตัดบทที่ 15 นายเสือเตี้ยรายงานว่า

                  “....อภัยฯ ผู้หนักโอษฐ์ให้ติโทษราคี เตี้ยขอวันทา พระกรุณานี้นัก เพราะนายจงใจภักดิ์ และพระ
                                     30
                  อภัยฯ ผู้พี่ สองมนุษ  สุดผิด ทำอวดอิทธิองอาจ ควรหรือหมิ่นประมาทพระราชวงศ์ (……..)”      31

                       ในเนื้อร้องบทที่ 16 เนื้อร้องบทที่ 16 นายเสือเตี้ยย้ำอีกครั้งถึงโทษานุโทษเยี่ยงนายจงใจ
                  ภักดิ์นั้นหากเกิดขึ้นในสมัยโบราณ จำเลยไม่แคล้วจะต้องถูกประหารชีวิตแน่นอน “....นี่เปนครั้ง

                  บุราณคงถูกประหารชีวี อันกษัตรวงษ์ย่อมทรงศักดิ์ สง่าเด่นอยู่เหนือเกษาไพร่อยู่ใต้ธุลี คือสมมุติ
                  เทวะหน่อพระพุทธางกูร เพียบสมภารเพิ่มพูนมูลพระบารมี”

                       ในเนื้อร้องลำตัดบทที่ 17 แม้นายเสือเตี้ยจะร้องว่า “เจ้าก้านกระทิง-ชะโอ้-เจ้ากิ่งต้นไทร

                  ฉนั้นเมื่อจ้าวเข้าใกล้ย่อมกันซวยได้เจ็ดปี” นั้น ในอีกมุมมองหนึ่ง ถ้าไม่ดูตาม้าตาเรือ ราษฎรที่เข้า
                  ใกล้ชิด “เจ้า” อย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เพราะไม่มีเครื่องหมายระบุความเป็นเจ้าชัดเจน แทนที่

                  “จะกันซวยได้เจ็ดปี” อาจ “ซวยนานเจ็ดปี” เป็นอย่างน้อย หรือ สูงสุดก็อาจจะมีโทษถูกตัดหัว
                  7 ชั่วโคตรก็เป็นได้ 32

                       ในเนื้อร้องบทที่ 18 นายเสือเตี้ย พรรณนาถึงความเชื่อโบราณเรื่องโทษฐานหมิ่นประมาท

                  พระราชวงศ์ “เจ้าก้านกระทิง-ชะโอ้-เจ้ากิ่งอัญชัน ย่อมมาจากสวรรค์ คือเผ่าพันธุ์โกษี มันใดใจ
                  อาจหมิ่นประมาทราชวงศ์  พระเจ้าย่อมทรงลงโทษมันทันที อันพระราชวงศ์ คือสกุลหงส์อันสูง

                  ไม่สมควรที่ยูง จะเขย่งย่ำยี”

                       แต่ในเนื้อร้องบทที่ 20 ซึ่งเป็นลำตัดบทสุดท้าย นายเสือเตี้ยกลับเปลี่ยนบาทต้นของคำร้อง

                  จาก“เจ้าก้านกระทิง” เป็น “เจ้าช่อมะกอก” โดยกระแหนะกระแหนว่า ถ้าพบ “เจ้า” ที่ไหน ก็จะ
                  ก้มกราบลงบนพื้นอย่างมีความสุข เพราะ “อำนาจ(พระเดช)” ของ “เจ้า” ทำให้ “พวกเรามีความสุข”
                  ดังนี้


                          “เจ้าช่อมะกอก -ชะโอ้-เจ้าดอกบุหงา เพื่อราช ชาติ สาสนาขอพลีพล่าชีวี สมควรที่
                     เราพบพวกเจ้าที่ไหน จะซบเศียรกราบไหว้ด้วยน้ำใจเปรมปรีดิ์ เพราะพระเดชเจ้าจึงพวกเรา
                     เปนสุข ผ่านขัดสนพ้นทุกข์ แสนสนุกเกษมศรี ไทยเจ้าเอ๋ยไทยเรา ยกเจ้าเปนพระเจ้า

                     ป้องไทยเราปรีดี! ชะโย! ขอให้ทรงพระเจริญ”

        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย     วิจัยของอัจฉราพร กมุทพิสมัย เรื่องปัญหาภายในสังคมไทยก่อนการปฏิวัติ 2475 : ภาพสะท้อนจากเอกสารและ
                        พิมพ์ตามต้นฉบับ
                    30

                        (........) คำในวงเล็บเป็นชื่อ ของพระราชวงศ์ ผู้เขียนจำเป็นต้องละไว้ หากผู้สนใจดูได้จากเอกสารต้นฉบับงาน
                     31

                  งานเขียนทางหนังสือพิมพ์. เสนอต่อ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2530.

                    32
                        อาทิ พระไอยการหลวง ในหนังสือกฎหมายตราสามดวง ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์ (2550) หน้า 402 ว่า
                  กล่าวทุ่มเถียงกันหน้าพระที่นั่ง ลงโทษ 3 สถาน หรือ กฎหมายลักษณะวิวาทด่าตี ระบุการวิวาทด่าตีในที่สาธารณะ
                  เอาผิดทั้งสองฝ่าย, เล่มเดิม, หน้า 243.
   440   441   442   443   444   445   446   447   448   449   450