Page 447 - kpi15476
P. 447
44 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15
กรณีดังกล่าวศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ วิเคราะห์ว่า การที่นายถวัติ ฤทธิเดชฟ้อง
รัชกาลที่ 7 ต่อสภาผู้แทนราษฎร แทนที่จะฟ้องต่อศาล เนื่องจากในรัฐธรรมนูญการปกครองแห่ง
พระราชอาณาจักรไทยฉบับถาวร (10 ธันวาคม 2475) บัญญัติในมาตรา 3 ไว้ชัดเจนว่า
“องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้” แต่นาย
ถวัติ ฤทธิเดชก็เข้าใจว่า มาตรา 6 ของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
ชั่วคราว 2475 ฉบับ 27 มิถุนายน 2475 บัญญัติว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายัง
โรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย” ยังใช้ได้อยู่
ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้ตีความมาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร (10 ธันวาคม 2475)
โดยอ้างอิงคำอภิปรายของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาว่า บุคคลไม่สามารถฟ้องพระมหากษัตริย์ได้
ทำให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ฟ้องนายถวัติ ฤทธิเดช ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อรัฐบาลปราบ
กบฏบวรเดชได้ ก็มีการนำญัตติการตีความมาตรา 3 ขึ้นพิจารณา โดยสภาลงมติด้วยคะแนน
เอกฉันท์ว่า ใครจะฟ้องพระมหากษัตริย์มิได้ทั้งสิ้น
ในเวลาต่อมา นายถวัติ ฤทธิเดช กับนาย ต.บุญเทียม ได้เข้าเฝ้าฯ ขอพระราชทาน
อภัยโทษที่จังหวัดสงขลา หนังสือพิมพ์ประชาชาติรายงานว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงรับการขอขมา
และยังทรงแสดงอัธยาศัยเสรีนิยมมีพระราชปฎิสันถารกับนายถวัติถึง 1 ชั่วโมง โดยทรงรับสั่งขอ
โทษนายถวัติที่ทรงได้รับข้อมูลผิดมา
นายถวัติ ฤทธิเดชให้สัมภาษณ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติภายหลังว่า “ผมมีความ
ปลาบปลื้มในน้ำพระทัยพระเจ้าอยู่หัวอย่างที่สุด ท่านทรงขอโทษราษฎรของท่านเช่นนั้น แสดงว่า
ท่านทรงเป็นสปอร์ตแมนเต็มที่ แล้วผมได้ก้มลงกราบที่ฝ่าพระบาทพระองค์ท่าน” ครั้นนายถวัติ
กราบบังคมทูลถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ คณะรัฐมนตรีก็กราบบังคมทูลถวายคำแนะนำ
35
ให้พระราชทานอภัยโทษ ต่อมาอัยการจึงถอนฟ้องนายถวัติ
พระมหากรุณาธิคุณอันกอร์ปด้วยมัทวะบารมี (ความอ่อนโยน) ของธรรมราชาข้างต้นทำให้
ท้าทายลดความร้อนแรงของการท้าทายลงไปเป็นอันมาก
หนังสือพิมพ์และการ์ตูนการเมืองสมัยรัชกาลที่ 7 :
บทความวิจารณ์และศิลปะท้าทายคติธรรมราชา
ท่ามกลางจารีตของสังคมสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 หนังสือพิมพ์
จำนวนหนึ่งได้ใช้ภาพการ์ตูนเป็นเครื่องมือวิจารณ์ผู้ปกครอง ปัญหาการเมือง เศรษฐกิจและสังคม
เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย ใน บทความมุมมองสองวัย ตอนที่ 27 ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน,
อาทิ นายหอม นิลรัตน์บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยหนุ่ม มีนายเปล่ง ไตรปิ่น (ขุนปฏิภาคพิมพ์
ลิขิต) ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นผู้วาดการ์ตูนล้อการเมือง และ นายเสม สุมานนท์ (แก่นเพ็ชร)
35
ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. “ผลพระคุณ ธ รักษา : พัฒนาการระบอบประชาธิปไตยอันมี
2556.