Page 446 - kpi15476
P. 446
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 445
การที่นายเสือเตี้ยร้องลำตัดประชดว่า “เพราะพระเดชเจ้าจึงพวกเราเปนสุข” ชะรอยคงจะรู้
พระนิสัยของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากรว่า “ดุ” มาก ดังปรากฏในงานเขียนเรื่องสายลับ
พระปกเกล้าของพโยม โรจนวิภาต (อ.ก. รุ่งแสง)
“หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร ผู้ออกแบบสร้างวังไกลกังวล เป็นอาจารย์พิเศษ
สอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเป็นศิษย์ของท่านอยู่
2 ปี ท่านดุมาก แต่ก็มีพระทัยดีต่อผู้ตั้งใจเรียนวิชาการของท่าน ข้าพเจ้าจึงไม่เคยถูกดุ
ท่านสำเร็จวิชาสถาปัตยกรรมจากประเทศอิตาลี เป็นเจ้าหน้าที่ทรงคุณวุฒิเยี่ยม ไม่แพ้องค์
อื่นๆ ในราชสกุลกฤดากร ตำแหน่งราชการของท่าน คือ ผู้อำนวยการแผนกศิลปากร
ราชบัณฑิตยสภา” 33
การขาดมัทวะของหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ สะท้อนอย่างชัดเจนเมื่อสมเด็จฯ กรม
พระกำแพงเพชรอัครโยธิน เสด็จฯ จะเข้าไปตรวจเยี่ยมการสร้างวังไกลกังวล เมื่อทอดพระเนตร
เห็นป้าย “Property Get Out” ถึงกับต้องเสด็จฯ กลับทันที
การท้าทายคติธรรมราชาได้ทวีระดับความเข้มข้นมากขึ้นใน พ.ศ. 2474 เมื่อนายถวัติ
ฤทธิเดช นักหนังสือพิมพ์ได้เขียนฎีกาทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานเงินสนับสนุนหนังสือพิมพ์ ฎีกา
ดังกล่าวชื่อ “นายถวัติ ฤทธิเดช ขอพระราชทานเงินเพื่อเป็นทุนในการออกหนังสือพิมพ์ปากกาไทย
ตามแต่พระราชทาน” ลงวันที่ 25 มีนาคม 2474 และฎีกาเรื่อง “ขอพระราชทานอินเตอร์วิวข่าว”
ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2474 เพื่อตั้งคำถามถึงความรู้สึกในการทรงพระสำราญระหว่างเสด็จฯ เยือน
ประเทศสหรัฐอเมริกาและการรักษาพระเนตรของพระองค์ผ่านทางหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็น
บรรณาธิการ รวมทั้งการตั้งคำถามสะท้อนความไม่พึงพอใจที่ทรงใช้จ่ายเงินจำนวนมากขณะที่
34
ราษฎรทั้งหลายยังยากจนอยู่
นอกจากนี้ เหตุการณ์ “ท้าทาย” อย่างชัดเจน คือ นายถวัติ ฤทธิเดช ในฐานะเลขานุการ
สมาคมรถรางยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อสภาผู้แทนราษฎรว่า “หมิ่น
ประมาทกรรมกรรถราง” ในพระราชบันทึกเมื่อ 15 กันยายน 2476 ดังนี้
“...เรื่องกรรมกรรถรางที่ผู้เขียนอ้างว่า เป็นการแสดงข้อหนึ่งถึงความระส่ำระสายวันนี้
นั้น ข้าพเจ้าขอตอบได้ว่า การที่กรรมกรรถรางหยุดงานนั้น หาใช่เพราะความเดือดร้อน
จริงจังอันใดไม่ ที่เกิดเป็นดังนั้นขึ้นเพื่อจะได้เปิดโอกาสให้ตั้งสมาคมคนงาน และตนจะได้
เป็นหัวหน้าได้รับเงินกันสบายๆ เท่านั้น...”
33 พโยม โรจนวิภาต, (นามแฝง อ.ก. รุ่งแสง) บทที่ 16, สายลับพระปกเกล้า 2547 : 27.
34 รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค. “แนวความคิดและวิธีการสื่อสารการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2468-2477” ผลงานวิจัยดี ประจำปี 2553. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
หน้า 80-81.