Page 449 - kpi15476
P. 449

44      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                       หนังสือพิมพ์สยามรีวิว  เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ออกทุกวันอาทิตย์ (พ.ศ. 2469-
                                             38
                  2470) ราคา 10 สตางค์ ลักษณะปกหน้าเป็นภาพวิจิตรร้อยเรื่อง แต่ภายในหนังสือพิมพ์

                  นำบทความทางการเมืองและการ์ตูนล้อการเมืองของหนังสือพิมพ์ฉบับอื่นๆ มารีวิวและแสดง
                  ความคิดเห็น นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ “เตือนนิดสะกิดหน่อย” ให้ผู้อ่านเขียนจดหมายแสดงความ
                  คิดเห็นถึงบรรณาธิการ ซึ่งมีข้อสังเกตว่าบทความส่วนใหญ่ในสยามรีวิวจะต่อต้านระบอบ

                  สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกี่ยวข้องกับการเรียกร้องระบบรัฐสภา การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
                  และตรวจสอบและเสียดสีการทุจริตต่างๆ


                       ตัวอย่างโดดเด่นของการวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏในหนังสือพิมพ์สยามรีวิว ในบทความเรื่อง
                  “เพื่อชาติฤๅเพื่อกระเป๋า”  วิจารณ์กรมรถไฟว่าใช้เงิน “อย่างอร่อยเหาะ” และนักหนังสือพิมพ์
                                          39
                  นามแฝง “ผู้เฒ่า” ได้เขียนบทความเรื่อง “ความเห็นเรื่องประชาธิปไตย”  กล่าวว่าตนเองรู้สึก
                                                                                      40
                  แปลกใจที่ผู้มีส่วนได้เสียในการปกครองประเทศและผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศมีความ

                  พึงพอใจและ” ยกยอในการที่ประเทศเรายังเป็นประเทศที่มีราชาธิปไตย”    41

                       ในเวลาต่อมาปรากฏว่า นสพ.สยามรีวิว ถูกถอนใบอนุญาตไปตั้งแต่ปี 2470 จากหลักฐาน

                  รายงานกรรมการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ. 2470
                  ที่ประชุมได้พิจารณาถึงวิธีกวดขันหนังสือพิมพ์ มีพระราชดำริของรัชกาลที่ 7 ทรงกล่าวว่า “วิธีปิด

                  โรงพิมพ์ไม่สะดวกในบางคราว เช่น การจะปิดโรงพิมพ์ที่พิมพ์สยามรีวิว ก็เป็นการปิด นสพ. ไทย
                  หนุ่มด้วย เพราะพิมพ์แห่งเดียวกัน ในการที่จะใช้วิธีวางเงินประกันก็เป็นการลำบากแก่
                  หนังสือพิมพ์ที่ดี เช่น นสพ.กสิกร”


                       ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสั้นๆ ปลายปี 2469 การวิพากษ์วิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ที่มีต่อ

                  ราชสำนักลดน้อยลง เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงต้องการลดพระราชอำนาจ
                  เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของรัฐบาลว่าจะเป็นผู้ปฏิรูปการเมืองการปกครอง มีข่าวลือแพร่ออกไปใน
                  กรุงเทพฯว่า อภิรัฐมนตรีสภาเป็นก้าวแรกของการมีสภาร่างกฎหมายแบบ “สภาขุนนาง” และอาจ

                  จะมีสภาสามัญชนตามมาในระยะเวลาอันสั้น ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่กษัตริย์พระองค์ใหม่และ
                  เสนาบดีกำลังแก้ปัญหาเงินงบประมาณของประเทศ รัฐบาลก็ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางต่อ

                  ความรับผิดชอบทางการคลังเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในระยะ 2-3 เดือนต่อมา ความเห็นอกเห็นใจ
                  ต่อกษัตริย์พระองค์ใหม่เริ่มเหือดหายและมีสัญญาณของความสงสัยเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯว่า
                  รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงต่างจากรัชกาลที่ 6 หรือไม่ ในเดือน

                  กุมภาพันธ์ มีนักเขียนยืนยันว่าการที่รัชกาลที่ 7 จะนำประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองนั้นไม่ใช่เรื่องจริง
                  เช่น “บางรัชกาลเศรษฐกิจถูกทำลาย บางรัชกาลเศรษฐกิจก็หยุดชะงัก” ในทำนองเดียวกันใน

        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   ฉบับ)   สยามรีวิว 10 เมษายน 2470
                        สบ.9.2.2/15 (เอกสารส่วนบุคคลของนายเอก วีสกุล : สยามรีวิวรายสัปดาห์ พ.ศ. 2469-2470 รวม 52
                    38


                    39
                        สยามรีวิว 26 มิถุนายน 2470
                    40

                        นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ในบทความเรื่อง “พลังของแนวคิดชาติ -ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัยแรกเริ่มของ

                    41
                  รัฐประชาชาติ” ในรัฐศาสตร์สาร ปีที่ 21 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2542, หน้า 34-35.
   444   445   446   447   448   449   450   451   452   453   454