Page 448 - kpi15476
P. 448
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15 44
36
แห่งหนังสือพิมพ์บางกอกการเมืองและหนังสือพิมพ์สยามรีวิว และนายโกศล โกมลจันทร์
(เสื้อเตี้ย) ผู้เขียนลำตัดล้อเลียนการเมือง
ตัวอย่างภาพจากหนังสือพิมพ์ไทยหนุ่ม ตีพิมพ์ในนสพ.สยามรีวิว ปีที่ 1 ฉบับที่ 38 ประจำ
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2469 หน้า 697 จำนวน 2 ภาพ เป็นฝีมือของ นายเปล่ง ไตรปิ่น
ภาพแรก เป็นภาพล้อสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิตในเครื่องแบบฉลอง
พระองค์ “มากยศ” ในฐานะเสนาบดีทหารบกและทหารเรือ พระหัตถ์ขวาทรงตรา คชสีห์ หมายถึง
กระทรวงกลาโหม และพระหัตถ์ซ้ายทรงตรา มัตสยาวตาร หมายถึง กระทรวงทหารเรือ แต่ดู
เหมือนจะจงใจเขียนภาพต้นพระสนับเพลาให้ลีบรัดพระองค์แทนที่จะพองตามปกติจนดูเหมือน
แทบจะไม่ได้ทรง ส่วนพระพักตร์ก็แสดงพระอารมณ์ภายในออกมาดูเคร่งขรึมเอาจริงเอาจังมากจน
พระโอษฐ์และพระมัสสุบิดเอียง มีอักษรบรรยายด้านข้างว่า “อยู่ในลักษณะเชื่อแน่ของประชาชน
ส่วนมาก”
นอกจากนี้นายเปล่ง ไตรปิ่นยังเขียนภาพล้อ สมเด็จฯ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม กำลังทรงทอดอารมณ์พระโอสถกล้อง (สูบไปป์) บนเรือ
พระที่นั่งแจวพระองค์เดียว 3 ลำ มีในพระอริยาบถสำราญพระหฤทัยแบบทองไม่รู้ร้อน และมี
ข้อความเหน็บแนมใต้ภาพว่า “อย่าว่าแต่เท่านี้ ถึงอิกลำสองลำก็พอกะเดกไปได้ หร็อกน่า !”
แม้เปล่ง ไตรปิ่นจะล้อเลียนเจ้านายทั้งสองพระองค์ผู้ทรงเป็นพระเชษฐาในพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในขณะที่ไทยยังเป็น
รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นการท้าทายสถานะความเป็นธรรมราชาของชนชั้นปกครอง แต่
ศิลปินกลับไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ในช่วง 10 ปีก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ภาพล้อและการ์ตูนการเมือง
ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์อย่างหลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อวิพากษ์วิจารณ์ผู้บริหารประเทศ
รวมถึงเปิดโปงการทุจริตของขุนนาง ข้าราชการ และเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้ง
ทางตรงและทางอ้อมอย่างชัดเจน จนเป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติควบคุมหนังสือพิมพ์
พ.ศ. 2465 และการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยสมุด เอกสาร และหนังสือพิมพ์ พ.ศ.
2470 เพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้เป็นบรรณาธิการให้มีความรับผิดชอบต่อการนำเสนอให้มากขึ้น
แสดงถึงความอดกลั้นที่มีต่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมืองของผู้นำประเทศ และ
37
สะท้อนบรรยากาศที่เกื้อหนุนต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม พ.ศ. 2475
36 หนังสือพิมพ์เปลี่ยนแปลงนิยม ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ สยามรีวิว ปากกาไทย บางกอกการเมือง
ไทยหนุ่ม เกราะเหล็ก กัมมันโต และศรีกรุง มีบทบาทเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างโดดเด่นในแนวต่อต้านรัฐบาล
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างเปิดเผย และต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง.
37 ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร, ภาพล้อและการ์ตูนการเมืองในสังคมไทย พ.ศ. 2465-2475 งานวิจัยเสนอ เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
สถาบันพระปกเกล้า, 2555.