Page 160 - kpi17527
P. 160
ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่
2559
กระแสการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไม่เพียงส่งสัญญาณว่า ภาครัฐซึ่งมีระบบ
ราชการอันเป็นกลไกหลัก จำเป็นต้องดำเนินบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน
ประเทศท่ามกลางกระแสความผันผวนของโลกยุคใหม่ โดยเฉพาะภาครัฐต้องมี
บทบาทในการพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของระบบ
เศรษฐกิจไทย การให้บริการสาธารณะ สร้างความเป็นธรรมและพัฒนาสังคมไทย
ในทุกด้าน แต่ยังตอกย้ำว่า ภาครัฐยังต้องให้ความสนใจและเพิ่มความระมัดระวัง
ในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ การกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ
โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ การเงินและการคลัง นโยบายการลงทุน
ที่สำคัญการกำหนดนโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐจึงจำเป็นต้องมีความ
รอบคอบ เป็นธรรม สุจริต โปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
และตอบสนองความต้องการของสังคมยุคใหม่ได้ ระบบราชการต้องมีศักยภาพสูง
รัฐบาลหลายยุคหลายสมัยมิได้นิ่งนอนใจในการพัฒนาระบบราชการ
1 งานด้านการปฏิรูประบบราชการของไทยมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง
หลายทศวรรษนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยรัฐบาล
1
1
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงกลไก
การบริหารราชการแผ่นดินหลายประการ มีการจัดตั้งสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ สภาวิจัย
แห่งชาติ เป็นต้น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาตรการยับยั้งการ
ขยายตัวของหน่วยงานในระบบราชการไทยอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก รวมทั้งมาตรการจำกัด
การขยายตัวของข้าราชการและลูกจ้างไม่ให้เกินร้อยละ 2 พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายก-
รัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงการบริหารราชการให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 มีการแก้ไขกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ระเบียบ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (เดิม คือ ปว.218) และ พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวงทบวง
กรม พ.ศ. 2534 (เดิม คือ ปว.216) นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี มีการปฏิรูป
ราชการที่นำไปสู่การวางรากฐานการเปลี่ยนแปลงของระบบราชการอย่างมากพอสมควร กล่าวคือ
ได้มีการแปรสภาพกิจกรรมของรัฐเป็นกิจกรรมของเอกชนเพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
และเพื่อแข่งขันในเวที นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี (ชวน 1) ได้มีการกำหนดมาตรการ
กำหนดขนาดกำลังคนภาครัฐเพื่อเพิ่มประสิทฺธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการและควบคุมค่าใช้
จ่ายภาครัฐ การปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินเพิ่มของข้าราชการทั้งระบบ โดยออกเป็น
กฎหมายเกี่ยวกับนโยบายเงินเดือนแห่งชาติ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
สถาบันพระปกเกล้า