Page 162 - kpi17527
P. 162
ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่
2559
โครงสร้างการบริหารของระบบราชการของไทยก็ยังเป็นรูปแบบการบริหารงานที่
ยากจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งคงต้องวิเคราะห์จากประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของ
ราชการในบริบทของสังคมไทย
2 วิวัฒนาการของการบริหาร
ราชการแผ่นดินไทยตามแนวคิด
ของระบบราชการ
การบริหารราชการแผ่นดินของไทยได้มีวิวัฒนาการและมีการปรับเปลี่ยนให้
เหมาะสมกับการเมืองการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัยเรื่อยมานับตั้งแต่
การก่อตั้งประเทศไทย โดยในช่วงการปกครองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
มีบันทึกในประวัติศาสตร์ว่า ระบบราชการหรือการบริหารราชการแผ่นดินของไทย
ได้เปลี่ยนแปลงมากที่สุดจนเรียกกันว่าเป็นการปฏิรูปราชการครั้งใหญ่ที่สุด 2 ครั้ง
1 0 คือ การเปลี่ยนแปลงในรัฐสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและ
พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในช่วง พ.ศ. 1991 – 2072 ที่มีการแบ่ง
การบริหารจัดการเป็นจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) และครั้งที่ 2 ในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435
ซึ่งยกเลิกจตุสดมภ์และนำระบบกระทรวง ทบวง กรมมาใช้แทน โดยได้ทรงปรับปรุง
แก้ไขการบริหารราชการทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลงระบบราชการในยุคนั้นรับอิทธิพลจากตะวันตกหลาย
ประการ โดยเฉพาะแนวคิดในการจัดองค์กรและการบริหารราชการ ซึ่งผู้บริหาร
องค์กรในยุคนั้นเป็นขุนนางผู้ที่มีการศึกษาสูงและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวยังได้ทรงว่าจ้างข้าราชการชาวต่างประเทศไว้หลายคนในช่วงต้นๆ เพื่อ
ช่วยจัดระบบการบริหารงานในบางกระทรวง ส่งผลให้การบริหารของระบบ
ราชการไทยผสมผสานหลักการและวิถีการดำเนินงานระหว่างการบริหารราชการ
ไทยระบบดั้งเดิม (ระบบเจ้าขุนมูลนาย) กับแนวคิดการบริหารจัดการตามแบบ
ตะวันตก คืออิทธิพลทางความคิดในการบริหารจัดการระบบราชการ ที่เน้น
การบริหารงานเชิงประสิทธิภาพ มีการจัดวางระบบเชิงวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า
สถาบันพระปกเกล้า