Page 165 - kpi17527
P. 165
ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่ 2559
แต่ละส่วนราชการตาม และการกำหนดให้การบริหารงานของกระทรวง
มีความเป็นเอกภาพมากขึ้นโดยได้ปรับปรุงแก้ไขอำนาจหน้าที่ของกระทรวง
ปลัดกระทรวง รวมไปถึงอำนาจหน้าที่ของกรม เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันโดย
ใช้แผนเป็นเครื่องมือทั้งในระดับกระทรวงและกรม
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตยเป็นต้นมา
การเมืองไทยภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยขาดเสถียรภาพอย่าง
ต่อเนื่อง มีการปฏิวัติรัฐประหารและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยครั้ง มีความ
วุ่นวายหรือวิกฤตทางการเมืองก็หลายครั้งหลายครา การเมืองภาคประชาชน
ประชาชนยังอ่อนแอ โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าร่วมและเข้าใจถึง
การบริหารราชการแผ่นดินและการเมืองปกครองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ความอ่อนแอและการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งของกลไกทางการเมืองส่งผลให้ภาค
ราชการซึ่งเป็นสถาบันที่มีความต่อเนื่องประกอบกับมีข้าราชการในยุคนั้นเป็นผู้ที่มี
ความรู้ความสามารถกลายเป็นกลไกที่เข้มแข็งกว่า จึงทำหน้าที่เป็นแกนหลักใน
การบริหารจัดการประเทศ และได้เพิ่มพูนบทบาทจากการกำกับดูแลกฎหมาย 1
การจัดระเบียบในสังคมและการรักษาความยุติธรรม มาเน้นการทำงานด้าน
นโยบายการพัฒนาประเทศทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น ส่งผลให้ระบบ
ราชการที่ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของแนวคิดในการบริหารราชการแบบดั้งเดิมได้
ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วไปพร้อมกับ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การก้าวหน้า
และเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ
การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่ส่งผลให้ความต้องการบริการสาธารณะเพิ่มขึ้น
และมีความหลากหลาย ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมมีความหลากหลายและ
ซับซ้อนมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้ระบบราชการไทยขยายตัว
ไปอย่างต่อเนื่องทั้งในเชิงโครงสร้าง บุคลากร และงบประมาณ โดยที่ยังดำรงไว้ซึ่ง
รูปแบบการบริหารงานตามหลักการของระบบราชการ (Bureaucracy) อย่าง
เคร่งครัด
สถาบันพระปกเกล้า