Page 405 - kpi17968
P. 405
394
(7) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of
Persons with Disabilities - CRPD)
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญของไทยทุกฉบับ ทุกยุคสมัยที่ผ่านมา
ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองที่สอดคล้องกับ
หลักการปารีส ส่วนในทางปฏิบัตินั้น หน่วยงานต่างๆ ในฐานะกลไกของรัฐต่าง
มีหน้าที่และพันธะผูกพันที่จะต้องดำเนินการเรื่องต่างๆ ให้เป็นไปตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีด้วยเช่นกัน
ิ ธิมน ยชนบน น า ห การ ปล ยน ปล
แนวคิดสิทธิมนุษยชน มีพัฒนาการที่จำแนกได้เป็น 3 ยุค คือ
ยุคแรก เป็นยุคที่ให้ความสำคัญกับสิทธิพลเมือง (Civil Rights) และ
สิทธิทางการเมือง (Political Rights) (ก่อนศตวรรษที่ 19) สิทธิที่สำคัญในยุค
นี้ได้แก่ สิทธิที่จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สิทธิที่จะได้รับความเท่าเทียมและการ
ปกป้องทางกฎหมาย สิทธิที่จะมีความเป็นส่วนบุคคล นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง
สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิที่มีอิสระปลอดพ้น
จากการเลือกปฏิบัติ (ในด้านศาสนา เชื้อชาติ และเพศสภาพ) เรียกว่าเป็น
“สิทธิตามธรรมชาติ” ของมนุษย์ ซึ่งการปกป้องสิทธิในยุคแรก เน้นไปที่กลไกทาง
กฎหมายเป็นหลัก มีการออกกฎหมาย มีปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
มีความพยายามในการแสวงหาและกำหนดนิยามสิทธิพลเมืองและสิทธิด้าน
การเมือง และพยายามสร้างระบบ Sanction ต่อต้านใครก็ตามที่พยายามละเมิด
สิทธิตามธรรมชาตินี้ การทำงานของหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชนจึงมุ่งเน้นปกป้อง
คุ้มครองสิทธิ การพิทักษ์สิทธิ (Advocacy Model) ซึ่งทำให้ความหมายของสิทธิ
เป็นไปในทางลบ เป็นสิทธิที่ทำให้ผู้คนอยากครอบครอง อยากมีสิทธิ เป็นเจ้าของ
เกิดการพึ่งพิงผู้มีอำนาจหน้าที่ และตกเป็นภาระของรัฐที่ต้องให้หลักประกันสิทธิ
ว่าจะไม่ถูกละเมิดหรือทำลายไป มากกว่าจะมีลักษณะเป็นสิทธิที่พึงตระหนักรู้
ยุคที่สอง เป็นเรื่องของสวัสดิการที่รัฐจะดูแลประชาชนเป็นสำคัญ
(ศตวรรษที่ 19 และ 20) เป็นการผนวกรวมสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
การประชุมกลุมยอยที่ 4