Page 426 - kpi17968
P. 426
415
จนถึงที่สุด ขณะเกิดเหตุปี 2552 ผู้ถูกกล่าวหารับราชการตำรวจอยู่ที่สถานี
ตำรวจภูธรเมืองปราจีนบุรี 2 นาย และตำรวจชุดสืบสวนภูธรจังหวัดปราจีนบุรี
5 นาย ซึ่งตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาก็ยังคงรับราชการและปฏิบัติหน้าที่อยู่
ในพื้นที่ โดยนายตำรวจทั้ง 7 นายถูกฟ้องในข้อหาหนักในข้อหาความผิดต่อ
เจ้าพนักงานในการยุติธรรม ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ความผิด
ต่อร่างกาย และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,
200, 275, 309, 310, 391ประกอบมาตรา 83 และ 91 ซึ่งมีระวางโทษสูงสุดจำ
คุกตลอดชีวิต
“วันเวลารักษาแผลกายให้จางไป แต่ความทรงจำเลวร้ายตอกย้ำ
แผลใจให้ยังสดอยู่เสมอ ดังกรณีของฤทธิรงค์ ชื่นจิตร หรือ “ช็อปเปอร์”
เด็กหนุ่มวัย 23 ปี ผู้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายร่างกาย เพื่อบังคับให้รับ
สารภาพว่าเป็นคนกระชากสร้อยคอทองคำ โดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏใน
ภายหลังคือ เจ้าทุกข์ชี้ตัวคนร้ายผิด และเขาเป็นผู้บริสุทธิ์!”
จากหนังสือ Torture
วันสากลเพื่อสนับสนุนผู้เสียหายจากการทรมาน
เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558 นายฤทธิรงค์ได้รับหนังสือ “ลับ” ฉบับหนึ่ง
จากสถาบันกัลยานิวัฒน์ จากคำแนะนำของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม นายฤทธิรงค์
ยินดีเข้ารับการตรวจร่างกายและสภาพจิตใจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพบว่าจาก
เหตุการณ์เมื่อ 6 ปีผ่านมานายฤทธิรงค์นั้นยังคงได้รับความบอบช้ำจากการ
ทรมานทางด้านจิตใจ โดยมีอาการ PTSD โดยนับเป็นคดีแรกที่ผู้เสียหายจากการ
ทรมานได้ใช้กลไกยุติธรรมเท่าที่มีเพื่อพิสูจน์ความจริงว่าตนถูกทำร้ายร่างกายและ
ยังคงมีบาดแผลเกิดขึ้นกับจิตใจ การตรวจร่างกายของผู้เสียหายจากการทรมานใน
ขณะที่ยังคงมีร่องรอยทางกายภาพเป็นไปได้โดยยากในปัจจุบัน ทางทีม
ทนายความจึงได้นำหลักการสากลเรื่อง Istanbul Protocol มาใช้โดยการสืบสวน
สอบสวนสภาพทางด้านจิตใจของผู้เสียหายเพื่อนำเป็นสู่การพิสูจน์ยืนยันเป็น
หลักฐานประกอบการกล่าวหาในคดีอาญา
การประชุมกลุมยอยที่ 4