Page 447 - kpi17968
P. 447
436
จะแยกเป็น 3 กลุ่มคือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการไต่สวนเอง โดยพนักงานไต่สวน หรือ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
ดำเนินการไต่สวน ประกอบด้วยกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็น
อนุกรรมการ แต่ในปี 2554 มีการแก้ไขกฎหมายใหม่ ในอนุกรรมการจะตั้ง
กรรมการท่านอื่นเป็นประธานอนุกรรมการก็ได้ หรือคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตจะไต่สวนเองทั้งคณะในคดีที่สำคัญ แต่ถ้าหากไม่มีมูลก็จะไม่
รับพิจารณาทำให้เรื่องตกไป
2. ไต่สวนข้อเท็จจริง
แจ้งคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการหรือพนักงานไต่สวน เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหา
ทราบ เพื่อที่ผู้ถูกกล่าวหาจะได้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านว่าบุคคลที่มาสอบสวน
จะให้ความเป็นธรรมได้หรือไม่ โดยเหตุที่จะโต้แย้งได้คือ คนที่จะไต่สวนรู้เห็น
เหตุการณ์ก่อนหรือไม่ มีส่วนได้เสียหรือไม่ มีสาเหตุโกรธเคืองกันหรือไม่ หรือ
ผู้กล่าวหาเป็นคู่สมรส บุพการี มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดหรือไม่ หากเขาโต้แย้งมา
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ก็ยังทำงานไม่ได้ ต้อง
เสนอคณะกรรมการวินิจฉัยว่าจะให้ทำหน้าที่ต่อหรือไม่ แล้วจึงมารวบรวมพยาน
หลักฐาน เมื่อรวบรวมพยานหลักฐานแล้วเห็นว่ามีมูล ก็ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าว
หาชี้แจงข้อกล่าวหา กล่าวอ้างพยานหลักฐาน รวมถึงต้องมีการตรวจสอบ
หลักฐานด้วย โดยผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิขอตรวจดูเอกสารหลักฐานได้ แล้วค่อยไป
ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม แล้วจึงสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณา ซึ่งอาจมีมติไปใน 3 ทาง คือ
พยานหลักฐานยังไม่พอให้ไปรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม หรือมีมูล หรือให้
ตกไป ทั้งนี้ อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ
3. ลงมติว่าเรื่องดังกล่าวมีมูล
ส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดพิจารณา ซึ่งอัยการสูงสุดก็จะดำเนินการตรวจ
สำนวน กลั่นกรองงาน หากเห็นว่าพยานหลักฐานไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะฟ้อง
การประชุมกลุมยอยที่ 5