Page 448 - kpi17968
P. 448
437
ก็จะตั้งคณะทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ ดำเนินการพิจารณาข้อที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเห็นควรให้ไปรวบรวม
พยานหลักฐานเพิ่มเติม ในกรณีที่หาข้อยุติได้อัยการก็จะส่งฟ้อง แต่ถ้าหาข้อยุติ
ไม่ได้ก็ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้ฟ้องเอง
สถิติก่อนที่จะมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบประชาธิปไตยจนมาถึงปี 2540 มีคดี
นักการเมืองแค่คดีเดียว พอมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติมีคดีที่ส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พิจารณา เฉพาะคดีอาญาอย่างเดียวมีทั้งหมด 16 คดี ซึ่ง 80% เป็นคดีที่ศาล
มีคำพิพากษา ลงโทษผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แต่ในหลายๆ คดีก็ไม่สามารถ
นำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้แม้ว่าศาลจะพิพากษาลงโทษก็ตาม เพราะผู้กระทำ
ความผิดหลบหนีออกนอกประเทศ
ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
มีคดีค้างสะสม 10,800 คดี เรื่องที่อยู่ในระหว่างแสวงหาข้อเท็จจริง 8,600 คดี
เรื่องที่อยู่ระหว่างการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวน 2,000 กว่าคดี ร้อยละ 80
กรรมการมาเป็นประธานคณะอนุกรรมการทำให้การทำงานล่าช้าอัตรากำลัง
เจ้าหน้าที่ดำเนินการทางคดี 776 คน ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนมี 224 คน
ขั้นแสวงหาข้อเท็จจริง 500 กว่าคน เป็นบุคลากรใหม่ ทางสำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีปัญหาเรื่องบุคลากรมาในหลายรัฐบาล
และเริ่มได้รับงบประมาณรับพนักงานไต่สวนเมื่อปีที่แล้ว 800 อัตรา ดังนั้น
บุคลากรที่เข้าใหม่จึงต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการทำงาน
การบริหารจัดการภายในอาจจะต้องมีการจัดประเภทคดี เป็นคดีขนาดเล็ก
ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่มาก แล้วจึงกำหนดกรอบเวลาในการ
ดำเนินการในแต่ละประเภทคดีอีกทั้งยังขาดผู้เชี่ยวชาญในการไต่สวน ตรวจสอบ
คดี อัตรากำลังจำกัด หลายคดีอาจต้องใช้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาช่วยในการ
ทำงาน
การประชุมกลุมยอยที่ 5