Page 474 - kpi17968
P. 474
463
และบุคคลอีกกลุ่มที่จะต้องมีส่วนรับผิดชอบ คือ ฝ่ายที่เข้าไปใช้อำนาจรัฐ เช่น
กลุ่มทางการเมือง เป็นต้น
น ป น า ก หรับป หา
จากการอภิปรายถึงประเด็นปัญหาเบื้องต้น ได้มีการนำเสนอข้อเสนอเพื่อ
เป็นทางออกสำหรับประเด็นปัญหาข้างต้น ดังนี้
1. ต้องมีการสร้างประชาธิปไตยที่เน้นสาระมากกว่ารูปแบบ โดยจะต้องมี
การสร้างกลไก กระบวนการ ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อลดการกระจุกตัวของ
อำนาจ การตัดสินใจของผู้แทนประชาชนจะต้องคำนึงถึงคุณภาพคือผู้แทน
ประชาชนจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอ และมีความเข้าใจที่เท่าทันฝ่ายบริหาร เช่น
การมีสถาบันที่ทำหน้าที่วิเคราะห์งบประมาณคู่กับกับฝ่ายบริหาร เป็นต้น และ
คำนึงถึงการสะท้อนเสียงที่แท้จริงของประชาชน
2. ต้องมีการสร้างประชาธิปไตยที่รากหญ้า โดยผ่านการกระจายอำนาจ
ซึ่งจะต้องมีการส่งเสริมการกระจายอำนาจที่ไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายอำนาจจาก
รัฐส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่จะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียตัวจริงจะต้องมีตัวแทน
ที่เข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจด้วย
3. ต้องทำให้การมีส่วนร่วมมีความหมาย ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การทำเพื่อให้
ครบตามเงื่อนไขของกฎหมายเท่านั้น โดยจะต้องเริ่มตั้งแต่การมีข้อมูลที่ประชาชน
สามารถเข้าถึงได้ และเข้าใจได้ง่าย ตลอดจนเป็นข้อมูลที่สอดรับกับความหลากหลาย
เชิงพื้นที่ และข้อมูลนั้นจะต้องเป็นข้อมูลที่มีการถ่วงดุลกัน ที่สำคัญคือ จะต้อง
เปิดโอกาสให้ชาวบ้านสามารถศึกษาวิจัยและค้นหาข้อมูลของตนเองได้
4. ต้องมีการทบทวนกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ กฎหมายใดที่ล้าสมัยแล้ว
ก็ต้องยกเลิกหรือปรับปรุงใหม่ ส่วนกฎหมายใดที่มีความจำเป็นแต่ยังไม่มีการออก
กฎหมายมาบังคับใช้ ก็ต้องมีการออกกฎหมายนั้นมา เช่น กฎหมายสิทธิชุมชน
5. ต้องมีกลไก หรือกระบวนการที่สามารถประเมินนโยบายสาธารณะได้
โดยจะต้องนึกถึงมิติของความยั่งยืน และลดความเหลื่อมล้ำ
สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย