Page 477 - kpi17968
P. 477
466
พวกมากลากไป เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ มือใครยาวสาวได้
สาวเอา ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ก็เอาด้วยคาถา และพายเรือ
ในอ่าง เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า ในส่วนของวัฒนธรรมการเมืองไทยนั้น
เรายังมีระบบอุปถัมภ์ ความนิยมในพวกพ้อง และชอบทำตามๆ กัน จนสุดท้าย
เมื่อมีปัญหาก็หาทางออกไม่ได้
ส่วนคำว่า “นิติธรรม” นั้น ก็ไม่ใช่คำใหม่ และท่านวิทยากรก็ยกตัวอย่าง
สุภาษิตที่เกี่ยวข้องเช่นกัน ได้แก่ ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ซึ่งหลักนิติธรรมจะกล่าวว่า
ฝนต้องตกทั่วฟ้า นั่นคือการเน้นย้ำเรื่องความเท่าเทียมกัน หรือ ซื่อกินไม่หมด
คดกินไม่นาน บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น หรือปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจ
ผู้นอน และเอาใจเขามาใส่ใจเรา ตลอดจนมีการให้ความสำคัญกับคำว่า “ถูกต้อง”
และ “ไม่ถูกต้อง” แต่ก็ต้องทำให้เหมาะกับกาลเทศะและวัฒนธรรม ดังนั้น
จะเห็นได้ว่า แม้ว่าประเทศไทยจะมีการรับหลักนิติธรรมที่เป็นสากลและเป็นที่
ยอมรับของต่างประเทศมาใช้ แต่ในเมื่อประเทศไทยเองก็มีวัฒนธรรมเป็นของ
ตัวเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่ส่งเสริม
หลักนิติธรรม และวัฒนธรรมที่เป็นการขัดขวางไม่ให้การนำหลักนิติธรรมสากล
มาปรับใช้อย่างได้ผลจริงในทางปฏิบัติ อันทำให้เมื่อมีการนำหลักนิติธรรมแบบ
สากลมาใช้แล้ว บางเรื่องก็ยังคงไม่ประสบความเร็จอยู่นั่นเอง
ประ น าม ป น นการน หลักนิติธรรม ากลมาบั ับ ช ละ
ั นธรรม า การ ม ม ล นการ ริม หร ั า การน หลัก
นิติธรรม ากลมาบั ับ ช
สำหรับสาเหตุที่ประเทศไทยจำเป็นจะต้องก้าวเข้าสู่ความเป็นประเทศที่นำ
หลักนิติธรรมสากลมาใช้เป็นหลักสำคัญในการปกครองนั้น ได้แก่
1. ความจำเป็นในมิติของเป้าหมาย และกระบวนการ: เนื่องจากประเทศ
ไทยไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้ และได้รับผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์
เสมอ ถ้าหากไม่มีการนำหลักนิติธรรมมาใช้ ประเทศอื่นๆก็จะไม่ยอมรับ ประเทศ
ไทยจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมสากลและนำหลักนิติธรรมมาบังคับใช้
สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย