Page 478 - kpi17968
P. 478

467




                   ยิ่งกว่านั้น ปัจจุบัน ประชาชนมีความเป็นปัจเจกมากขึ้นจึงต้องหันไปพึ่งพารัฐ

                   มากขึ้น ส่งผลให้รัฐมีบทบาทในการจัดสรรผลประโยชน์ในประเทศมากขึ้น ดังนั้น
                   หลักนิติธรรมจึงสำคัญมากในการดำเนินกิจการทั้งหลายของรัฐ


                         2. ความจำเป็นในมิติของปัญหาในประเทศไทย: ประเทศไทยจะต้องมีการ
                   รณรงค์ให้คำนึงถึงหลักนิติธรรมมากขึ้น เนื่องจากประชาชนยังไม่เคารพกฎหมาย
                   ดังจะเห็นได้จากการฝ่าฝืนกฎจราจร ที่สำคัญ สังคมไทยยังมีความคิดที่สุดโต่ง

                   ในเรื่องความเชื่อและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน และอาจไม่ค่อยมีการแบ่งแยก
                   ระหว่างความถูกต้องและถูกใจ จนสุดท้ายอาจเกิดความขัดแย้งได้เพราะความ

                   แตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องนำหลักนิติธรรมมาใช้เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม
                   และให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้ภายใต้การยอมรับความแตกต่างนั้น


                         เมื่อพิจารณาถึงวัฒนธรรมการเมืองไทยแล้ว จะเห็นได้ว่ามีทั้งวัฒนธรรม
                   ทางการเมืองที่ส่งเสริม และขัดขวางการนำหลักนิติธรรมมาปรับใช้


                         ในเรื่องของวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นการส่งเสริมหลักนิติธรรมนั้น
                   ได้แก่


                         1. การยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของผู้ปกครอง: เห็นได้ตั้งแต่ในอดีต เช่น
                   การปกครองในสมัยอยุธยาซึ่งพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศจะต้องยึดถือ
                   หลักทศพิธราชธรรม อันเป็นหลักที่เป็นเสมือนการกำหนดกรอบการใช้อำนาจของ

                   ผู้ปกครอง นั่นหมายความว่า ผู้ปกครองจะใช้อำนาจตามอำเภอใจไม่ได้

                         2. วัฒนธรรมเรื่องสันติวิธี: ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าประชาชนตื่นตัวทาง

                   การเมืองมากยิ่งขึ้น และเริ่มมีค่านิยมเรื่องสันติวิธีมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าใน
                   ปัจจุบัน ใครทำร้ายอีกฝ่ายก่อน ผู้นั้นเสียเปรียบ เป็นต้น


                         ส่วนวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยที่เป็นการขัดขวางหลักนิติธรรม ได้แก่

                         1. การใช้อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อมากกว่าข้อเท็จจริง: จะเห็นได้ว่า

                   ในบางกรณี การตัดสินผู้ที่มีความเห็นต่างจะมีการใช้อารมณ์ ความเชื่อ หรือ
                   ลางสังหรณ์ มากกว่าการพิจารณาจากข้อเท็จจริง ซึ่งถ้าหากตัดสินหรือวิพากษ์






                                                               สรุปสาระสำคัญการประชุมกลุมยอย
   473   474   475   476   477   478   479   480   481   482   483