Page 514 - kpi17968
P. 514

503




                           ดังนั้นจิตก็จะเลือกปฏิบัติแต่ในสิ่งดีสิ่งที่เป็นกุศลเท่านั้น ทั้งต่อตัวเอง

                   ผู้อื่นและต่อสังคมส่วนรวม และอะไรที่เป็นความไม่ดีไม่งามหรือที่นำไปสู่ความชั่ว
                   หรือการทำร้าย จิตก็จะไม่ปฏิบัติ ซึ่งตรงกับหลักพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นให้คนสร้าง
                   แต่กรรมดีหรือความดี เช่น คำปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้าก่อนปรินิพพานว่า


                                  “ภิกษุทั้งหลาย เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารย่อม
                            มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังประโยชน์ให้

                            เกิดขึ้นแก่ตนและผู้อื่นด้วยความไม่ประมาทเถิด”

                           ซึ่งจะเห็นว่าพระพุทธศาสนาจะเน้นที่ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น

                   คือเน้นให้ทำแต่ประโยชน์ของตัวเองและของผู้อื่นด้วย ซึ่งรวมเรียกว่า “ส่วนรวม”
                   คือ ถ้าเราได้ประโยชน์นั่นหมายความส่วนรวมก็ได้เช่นกัน หรือถ้าส่วนรวมได้

                   ประโยชน์ นั่นหมายความว่า เราก็ได้รับประโยชน์จากส่วนรวมนั้นเช่นเดียวกัน
                   เพราะเราคือหนึ่งในส่วนรวมนั้น และคำว่า “เรา” ในแง่ของพระพุทธศาสนา ก็คือ
                   ทุกคนตกอยู่ในฐานะอันเดียวกันคือ “เป็นเพื่อนเกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมด
                   ทั้งสิ้น” นั่นเอง


                           ดังนั้น พระพุทธศาสนาจึงสอนให้คนเราอยู่ด้วนกัน โดยการแบ่งปันกัน
                   ช่วยเหลือกัน มีความเมตตาต่อกัน เอื้อเฟื้อต่อกัน ปรารถนาดีต่อกัน

                   ไม่เบียดเบียนกัน ไม่ทำร้ายกัน พึ่งพาอาศัยกัน ตามหลักธรรมที่ว่า “อิทัปปัจจยตา”
                   นี้คือลักษณะเด่นของพุทธศาสนาและพระพุทธศาสนา ก็ได้ใช้ธรรมะเหล่านี้ในการ

                   ปลุกจิตสำนึกของคนทั่วไปมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพุทธกาลมาจนถึงปัจจุบันนี้

                           การแสดงธรรมต่างๆ คือ การปลุกจิตสำนึกของคนทั่วไป คือปลุกให้

                   คนตื่นลุกขึ้นมาสร้างความดี ปลุกให้คนได้ดวงตาเห็นธรรม โดยเฉพาะคนที่มีดวง
                   ตามืดมนมองไม่เห็นธรรมหรือมองเห็นผิดเป็นถูกหรือเห็นถูกเป็นผิด ซึ่งจะต้องใช้
                   ธรรมะซักฟอกมากกว่าคนทั่วๆ ไป เพื่อที่จะเปลี่ยนทัศนคติ จากความคิดที่เป็น

                   มิจฉาทิฏฐิ มาเป็นสัมมาทิฏฐิ

                           ดังนั้นคนที่เห็นแก่ตัว หรือคนที่ไม่มีธรรม ทุกครั้งที่แสดงความคิดเห็น

                   อะไรออกมา จะแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่เอาประโยชน์ของตนเองและ






                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   509   510   511   512   513   514   515   516   517   518   519