Page 511 - kpi17968
P. 511
500
ดิวอี้ ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการคิดว่า เป็นสิ่งที่มี
คุณค่าเพราะการคิดช่วยให้คนได้มองเห็นภาพปัญหาต่างๆ ในอนาคตซึ่งจะช่วยให้
บุคคลได้คิดหาแนวทางในการหลีกเลี่ยงหรือป้องกันได้ และการคิดช่วยขยาย
ความหมายของสิ่งต่างๆ ในโลกได้ และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการคิดคือ
คนจะมีการปฏิบัติหรือการกระทำตามที่เขาคิดถึงแม้มันอาจจะถูกหรือผิดก็ตาม
เนื่องจากความคิดมีพลังอำนาจ จึงต้องการการควบคุมโดยได้แนะนำ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการช่วยรักษาความคิดให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โดยมีการ
ควบคุมเงื่อนไขภายใต้การสังเกตและการสรุปความคิดตามสิ่งที่เกิดขึ้นและได้มี
การทบทวนแนวคิด โดยกล่าวว่า สิ่งบุคคลรู้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดกระบวนการ
คิดครั้งแรกแล้วนำไปสู่การคิดในสิ่งอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของ
กระบวนการคิดนั้น
ดังนั้นจากแนวคิดของทั้งสองท่าน พอจะทำให้รู้ได้ว่า ความคิดค่อนข้าง
มีความสลับซับซ้อนและมีพลัง ซึ่งจะมีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความรู้และ
กระบวนการคิดเหล่านั้น ลักษณะของความคิดจะ มีหลักของเหตุผล หรือ
หลักศาสนา หลักปรัชญา หลักของคุณงามความดีเข้ามาเกี่ยวข้อง และหลักของ
ความคิดจะต้องเป็นลักษณะของคำถาม เช่น เราเป็นใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
อย่างไร เพื่ออะไร เหล่านี้เป็นต้น เช่น การคิดแบบโยนิโสมนสิการ ถือว่าเป็น
หลักการคิดหนึ่งที่อยู่ในหลักธรรมที่ว่า “สิกขาบุพพภาคธรรม”
ซึ่งหลักสิกขาบุพพภาคธรรมแปลว่าธรรมที่เป็นส่วนเบื้องต้นของการ
ศึกษากล่าวคือ การที่การศึกษาจะดำเนินไปได้นั้นผู้ศึกษาจะต้องมีองค์ประกอบ
สองประการที่จะกล่าวต่อไปนี้ ถ้าขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งการศึกษา
ของผู้นั้นก็จะประสบกับความล้มเหลวแต่ถ้ามีองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้
การศึกษาของผู้นั้นก็ถือว่าถูกต้องหรือเป็นสัมมาทิฏฐิถามว่าองค์ประกอบของการ
ศึกษาทั้งสองอย่างนั้นคืออะไร ตอบว่าองค์ประกอบของการศึกษาทั้งสองอย่างนั้น
คือ 1) ปรโตโฆสะ 2) โยนิโสมนสิการ องค์ประกอบทั้งสองประการนี้ทำให้การ
ศึกษาของผู้นั้นเป็นสัมมาทิฏฐิหรือเป็นการศึกษาที่ถูกต้องดังพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ใน
อังคุตรนิกายทุกนิบาตว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่ง
บทความที่ผานการพิจารณา