Page 513 - kpi17968
P. 513
502
7.5 จิตสำนึกคืออะไร
จิตสำนึกคือ การระลึกรู้ได้เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ของตัวเองใน
โครงสร้างทางสังคมดังที่เราจะได้ยินบ่อยๆ เช่น จิตสำนึกแห่งความเป็นครู
จิตสำนึกของพลเมือง จิตสำนึกสาธารณะ จิตสำนึกของการเป็นคนดี หรือ
จิตสำนึกของผู้ปกครอง เหล่านี้เรียกว่า จิตสำนึกจิตสำนึกเกิดจากระบบทาง
สังคม คือสังคมเป็นอย่างไร “จิตสำนึก” ก็จะเป็นเช่นนั้นระบบสังคมก่อให้เกิด
โครงสร้างตำแหน่งทางสังคมที่ซ้อนทับกันอยู่เมื่อเรายังเป็นเด็ก เราก็ได้เรียนรู้
จิตสำนึกของความเป็นลูก พอเราโตขึ้นโครงสร้างและตำแหน่งที่เลื่อนไหลไปมา
ทำให้เรามีจิตสำนึกที่แปลผันไปตามตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ และโดยเฉพาะอย่าง
จิตสำนึกของผู้ใช้กฎหมายหรือเจ้าหน้าที่รัฐ
หรืออีกนิยามหนึ่งจิตสำนึกคือ ความระลึกได้โดยจิต ว่า อะไรควรทำ
อะไรไม่ควรทำ อะไรเหมาะ อะไรไม่เหมาะ อะไรคือบุญ อะไรคือบาป อะไรผิด
กฎหมาย อะไรถูกกฎหมาย แล้วก็ปฏิบัติตนไปตามนั้น เช่น ถ้าอะไรถูกต้องก็ต้อง
ปฏิบัติตามนั้น หรือถ้าอะไรไม่ถูกต้องก็ต้องไม่ปฏิบัติในสิ่งนั้น เช่น การทำบุญ
ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง เราก็ควรปฏิบัติ หรือการฆ่าสัตว์ การขโมยถือว่าเป็น
สิ่งไม่ดี เราก็ไม่ควรปฏิบัติ เป็นต้น
สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นจิตสำนึกคือเป็นหน้าที่ของจิตของเราที่ต้องนึกบอก
ตัวเราเองว่า เราเป็นใคร และควรที่จะทำอะไรหรือไม่ควรทำอะไร และคำว่า
“จิตสำนึก” ส่วนใหญ่จะใช้ในเชิงบวกหรือเชิงสร้างสรรค์ เช่น อะไรควรทำจิตก็บอก
ว่าต้องทำหรือปฏิบัติ อะไรไม่ควรทำจิตก็บอกว่า ไม่ควรทำหรือไม่ควรปฏิบัติ
จิตสำนึกเป็นกลไกอย่างหนึ่งในกระบวนความคิดที่ส่งผลในแง่ของ
พฤติกรรมทั้งการพูดและการกระทำ คำว่าจิตสำนึกจะใช้ในเชิงบวกหรือเชิง
สร้างสรรค์เท่านั้น เพราะจิตสำนึกจะบ่งบอกว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ ซึ่งจะ
ตรงกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่า “การละชั่ว การทำดี การทำจิตใจให้
บริสุทธิ์” ดังนั้นจิตจะรู้ว่า อะไรคือความชั่ว ปัจจัยที่นำไปสู่ความชั่วคืออะไร หรือ
อะไรคือความดี ปัจจัยที่นำไปสู่ความดีคืออะไร และการที่จะทำจิตให้บริสุทธิ์ควร
ทำอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น
บทความที่ผานการพิจารณา