Page 509 - kpi17968
P. 509
498
ปัจจุบัน ก็ต้องผ่านโสตประสาทต่างๆ ที่เราเรียกว่า อายตนะทั้ง 6 ก่อนเสมอคือ
ตา หู จมูก ปาก กาย และใจ เพราะอายตนะทั้ง 6 คือเครื่องมือในการรับรู้ต่างๆ
ดังนั้นความรู้โดยทั่วไปก็จะมีลักษณะเฉพาะซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 3
ประเภท คือ
1. ความรู้ประเภทที่ทำให้บุคคลรู้สึกเป็นกลางๆ เช่น วิชาภาษาไทย
วิชาอังกฤษ วิชารัฐศาสตร์ วิชาศิลป์ วิชาหน้าที่พลเมือง วิชาวิทยาศาสตร์ เหล่านี้
เป็นต้น
2. ความรู้ประเภทที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็นกุศล เช่น
การไม่โกรธ การไม่โลภ การไม่หลง ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกว่า กุศลมูลหรือ
รากเหง้าแห่งความดี (ความไม่ชั่ว) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้มนุษย์เป็นคนดี
3. ความรู้ประเภทที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็นอกุศล เช่น
การโกรธ การโลภ การหลง ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกว่า อกุศลมูลหรือรากเหง้า
แห่งความไม่ดี (ความชั่ว) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้มนุษย์กลายเป็นคนชั่ว
ดังนั้นความรู้โดยทั่วไปก็จะจึงมี 3 ลักษณะดังที่ได้กล่าวมา แต่ความรู้
ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของมนุษย์มากที่สุดในบรรดาความรู้ทั้ง 3 ประเภท
คือ 2 ประเภทหลัง คือ ความรู้ที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็นกุศลและอกุศล
สำหรับความรู้ที่ทำให้บุคคลรู้สึกเป็นกลางๆ ก็จะไม่ค่อยมีผลต่อพฤติกรรมมากนัก
แต่ความรู้อย่างเดียวก็ไม่สามารถทำให้เรากลายเป็นคนดีหรือคนชั่วได้ และการที่
เราจะเป็นคนดีหรือคนชั่วได้นั้น ก็ต้องผ่านการประมวลความรู้เหล่านั้นเสียก่อน
หรือที่เราเรียกว่า “ความคิด” เช่น เราคิดอะไร กับใคร เมื่อไหร่ ที่ไหนอย่างไร
แล้วแสดงออกเป็นรูปแบบพฤติกรรม ดังนั้นทุกพฤติกรรมจึงผลมาจากการคิด
ดังนั้นความรู้ประเภทที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็นกุศลและ
อกุศลย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อความเป็นไปของมนุษย์และ
สังคม และประเทศชาติ เพราะความรู้ประเภทที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็น
กุศลย่อมส่งผลให้เป็นคนดี แต่ความรู้ประเภทที่ส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมเป็น
อกุศลย่อมส่งผลให้เป็นคนชั่ว ฉะนั้นความรู้โดยทั่วไปมีทั้งด้านที่สนับสนุนให้คน
ทำความดี และทำความชั่ว
บทความที่ผานการพิจารณา