Page 510 - kpi17968
P. 510
499
ดังนั้นนักปราชญ์ทั้งหลายจึงบอกว่า “คนที่มีความรู้จะต้องคู่กับ
คุณธรรม เพราะคนที่มีความรู้ถ้าไม่มีคุณธรรมก็จะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว”
ซึ่งสอดคล้องกับบทกลอนหนึ่งกล่าวว่า “ถึงสูงศักดิ์อัครฐานสักปานไหน ถึงวิไล
เลิศฟ้าสง่าศรี ถึงเก่งกาจฉลาดกล้าปัญญาดี ถ้าไม่มีธรรมก็ต่ำคน”
ดังนั้นคนเห็นแก่ตัว คนพาล คนมักโกรธ คนเขลา คนลำเอียง เหล่านี้
รวมเรียกว่า “คนไม่มีธรรม” และคนที่ไม่มีธรรมเหล่านั้นซึ่งเมื่อมีความรู้ในระดับ
สูงๆ ก็จะใช้ความรู้เหล่านั้นเป็นเครื่องมือในการกอบโกยโกงกิน ซึ่งบุคคลเหล่านี้
ถือว่าบ่อนทำลายสังคมและประเทศชาติ ถือว่าเป็นตัวเห็บหมัดของชาติ เพราะ
บุคคลเหล่านี้ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะตำแหน่งใดก็ตาม ก็สร้างความเดือดร้อนที่นั่น
ยิ่งถ้าอยู่ในฐานะผู้ใช้กฎหมายแล้ว นั่นคือบ่อนทำลายประเทศชาติโดยแท้จริง
7.4 ความคิดคืออะไร
ความคิด คือ กระบวนการนึกคิดหรือกระบวนการทบทวนอย่างแยบคาย
ในใจ ในบางสิ่งหรือบางเรื่องที่จะกระทำ และในกระบวนการนึกคิดหรือทบทวนนั้น
ก็จะมีหลักธรรมและข้อคิดเหตุผลต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น คิดที่จะเรียนให้
สำเร็จต้องทำอย่างไร คิดจะเป็นคนดีต้องทำอย่างไร หรือคิดว่าการเป็นผู้ใช้
กฎหมายที่ดีควรทำอย่างไร เหล่านี้เป็นต้น สำหรับความคิดอาจจะต่างจากความรู้
ตรงที่ว่า ความรู้เป็นความรู้ทั่วๆ ไป เช่น ความรู้ของฉันมันแค่ประถม แต่ของเธอ
มันระดับปริญญา และความคิดมันต้องมีวัตถุประสงค์ หรือมีเหตุมีผลเสมอ
ดร.สุวิทย์ มูลคำ กล่าวว่า การคิด คือ การค้นหาความหมาย ซึ่งผู้ที่
คิดคือพวกที่กำลังค้นหาความหมายของอะไรบางสิ่งบางอย่าง นั่นคือกำลังใช้สติ
ปัญญาของตนเอง ทำความเข้าใจกับการนำความรู้ใหม่ที่ได้รับรวมเข้ากับความรู้
เดิมหรือประสบการณ์ที่มีอยู่ เพื่อหาคำตอบว่า คืออะไร หรือการนำเอาข้อมูลที่พึ่ง
ได้รับเข้ามาใหม่ ไปรวมกับข้อมูลเก่าที่รำลึกได้ เพื่อสร้างเป็นความคิดอ่านหรือ
ข้อตัดสิน 9
9 ดร.สุวิทย์ มูลคำ, กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราห์, (กรุงเทพมหานคร: หจก.ภาพพิมพ์,
2550), หน้า 13.
บทความที่ผานการพิจารณา