Page 562 - kpi17968
P. 562

551




                   พวกเขาสะท้อนให้เห็นถึงกฎหมายในทางปฏิบัติที่ถูกใช้โดยเจ้าหน้าที่รัฐและแสดง

                   นัยยะถึงความเป็นไปได้ของความยุติธรรม นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวทางสังคม
                   ของพวกเขาแสดงให้เห็นถึงนิติสำนึกสามรูปแบบ ได้แก่ ทุกคนอยู่เบื้องหน้า
                   กฎหมาย การใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ และการต่อต้านกฎหมาย กล่าวโดยสรุป

                   บทความนี้อธิบายให้เห็นว่ากฎหมายสามารถถูกรื้อสร้างได้และนิติสำนึกของกลุ่ม
                   อนุรักษ์ฯ บ้านกรูดแสดงให้เห็นถึง ช่องว่างระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมใน
                   สิทธิชุมชน





                                      ามย ติธรรม น ิ ธิช มชน
                                ม    านนิติ  น ก   กล  ม น รัก

                        รั ยากรธรรมชาติ  ละ ิ     ล  มบ านกร

                                บา  ะ าน  ั ห ั ประ  บ  ร  ันธ




                       บ น



                         นับตั้งแต่การประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.
                   2504 จนถึงก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

                   (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540) เป็นการประกาศแนวทางการพัฒนาที่มีผล
                   เปลี่ยนแปลงทิศทางการผลิตจากฐานทรัพยากรธรรมชาติเพื่อวิถีชีวิตแบบพอเพียง
                   ในชุมชนเป็นการผลิตเพื่อภาคอุตสาหกรรมให้กับสังคมโดยรวม พร้อมกับ
                   การประกาศนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นภาคอุตสาหกรรรมดังกล่าว จึงได้

                   มีการตรากฎหมายให้อำนาจจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตกอยู่ใน
                   การควบคุมดูแลของรัฐ โดยกฎหมายส่วนใหญ่หลายฉบับที่บัญญัติไว้ก่อน

                   รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ถูกนำมาบังคับใช้ในทางปฏิบัติ อันได้แก่
                   พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
                   พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   557   558   559   560   561   562   563   564   565   566   567