Page 564 - kpi17968
P. 564

553




                   พวกเขาก็ได้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันและเท่าเทียมกันโดยเป็น

                   มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษให้แก่ทุกคนในชุมชนและโดยไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ
                   ผู้ใดผู้หนึ่ง จนกระทั่งเมื่อมีการนำแนวคิดกรรมสิทธิ์ของโลกตะวันตกมาบัญญัติไว้
                   ในกฎหมาย ประกอบกับรัฐมีนโยบายโครงการพัฒนาตามกระแสทุนนิยมเข้ามา

                   แทรกแซงจัดการทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน ซึ่งมีผลให้เกิดปรากฎการณ์กรณี
                   เอกชนบุกรุก แย่งชิง ถือเอาประโยชน์ส่วนตนจากที่ดินและทรัพยากรในชุมชน
                   จนเข้าข่ายการละเมิดสิทธิทางธรรมชาติของประชาชนผู้พึ่งพิงอาศัยฐานทรัพยากร

                   ธรรมชาติ ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีการประกาศรับรองสิทธิชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.
                   2540 จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แต่การละเมิดต่อชุมชนซึ่งถือว่าเป็นการใช้
                   อำนาจโดยมิชอบยังคงดำรงอยู่ ซึ่งดูเหมือนว่ากฎหมายรับรองเฉพาะลายลักษณ์

                   อักษร แต่รัฐโดยหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือผู้ประกอบการไม่ได้ยอมรับ
                   สิทธิชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งสะท้อนถึงผลของการใช้กฎหมายที่ปรากฏในทางปฏิบัติ
                   (law in action) ไม่มีความสอดคล้องกับกฎหมายที่บัญญัติตามรัฐธรรมนูญ (law

                   on books) กฎหมายดังกล่าวมีศักดิ์ลำดับต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ แต่เจ้าหน้าที่รัฐผู้มี
                   อำนาจกลับนำมาตีความและบังคับใช้ในทางปฏิบัติแทนที่บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
                   ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นเสือกระดาษ หากว่าชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น

                   ไม่ร่วมแรงร่วมใจกันยกสิทธิชุมชนของตนเองที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ
                   ขึ้นมาต่อรองและต่อสู้กับอำนาจที่เหนือกว่า หลายชุมชนที่ล่มสลายหรือทนอยู่ได้
                   ยากจากผลกระทบที่เกิดขึ้น กรณีตัวอย่างเช่น ชาวบ้านในชุมชนแม่เมาะกรณี

                   โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชาวบ้านในชุมชนมาบตาพุดกรณีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
                   ข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้กลายเป็นตำนานเล่าขานในกลุ่มชาวบ้านนักเคลื่อนไหวใน
                   ชุมชนท้องถิ่นแห่งอื่นที่ไม่ประสงค์จะซ้ำรอยหายนะดังกล่าว จึงเป็นพลังผลักดัน

                   ทำให้ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นพื้นที่เป้าหมายสำหรับโครงการพัฒนาของรัฐ เกิดความ
                   ตื่นตัวออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิในการปกป้องท้องถิ่นตนเอง กรณี
                   การเคลื่อนไหวของชุมชนท้องถิ่นในการต่อต้านรัฐและผู้ประกอบการที่เข้ามา

                   แสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การชุมนุม
                   ประท้วงกรณีคดีชุมนุมคัดค้านโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซ
                   ธรรมชาติไทย-มาเลเซีย กรณีคดีวนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตแกนนำชาวบ้าน
                   เขื่อนปากมูล ซึ่งถูกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แจ้งความ







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568   569