Page 567 - kpi17968
P. 567
556
คำกล่าวของเธอสอดคล้องกับแนวคิดการรื้อสร้างของแดร์ริดา (Jacques
Derrida) ผู้ซึ่งชี้ให้เห็นว่ากฎหมายกับความยุติธรรมมีความสัมพันธ์กันจนดูราวกับ
ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริง สองสิ่งนี้อยู่ตรงข้ามกันโดยกฎหมาย
มีสภาพการบังคับใช้และบทลงโทษ ในขณะที่ความยุติธรรมไม่จำเป็นต้องมีผล
บังคับใช้ และกฎหมายที่มีอำนาจบังคับใช้นั้นอาจจะมีความยุติธรรมหรือไม่มีความ
ยุติธรรมก็ได้ แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ประชาชนจำต้องเชื่อฟังโดยดุษฎี มิฉะนั้น
ด้วยอำนาจบังคับใช้และบทลงโทษของกฎหมาย จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่กระทำการ
ฝ่าฝืนโดยไม่ได้คำนึงว่ากฎหมายจะมีความยุติธรรมหรือไม่ มากน้อยเพียงไร
สำหรับแดร์ริดา การรื้อสร้างคือความยุติธรรม กล่าวคือกฎหมายสามารถรื้อสร้าง
ได้ (Derrida, 2002, p.243) แม้ว่าสิ่งที่กฎหมายสร้างคือตัวตนที่เรียกว่า
“ความยุติธรรม” แต่กฎหมายที่มีลักษณะปฏิฐานนิยม (positive law) ก็ไม่ใช่
4
สิ่งเดียวกันกับความยุติธรรม เนื่องจากการตรากฎหมาย หรือการปรับแก้
เพิ่มเติมกฎหมายในแต่ละครั้งแสดงให้เห็นว่ากฎหมายสามารถถูกรื้อสร้างหรือ
ปรับแก้ได้เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเฉพาะกรณีและ/หรือเฉพาะกาล
“การรื้อแล้วเข้าไปแทนที่ด้วยสิ่งอื่น” (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2551,
น. 16) เป็นการยอมรับความเป็นอื่น (Otherness) โดยปลดปล่อยสิ่งที่เคยถูก
เก็บกดจากการครอบงำของอำนาจให้สามารถเปิดเผยปรากฏตัวตนขึ้นมา ดังนั้น
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกฎหมายหรือการบังคับใช้กฎหมายจึงสามารถถูกตรวจสอบ
สืบค้นเพื่อทำการทบทวนกฎหมายที่มีอยู่ว่ามีความเป็นไปได้ของความยุติธรรม
มากน้อยเพียงไร และแทนที่ด้วยการปรับแก้เพิ่มเติมบทบัญญัติใหม่เพื่อแก้ไข
ปัญหาความยุติธรรมของกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม
และยุคสมัย และเป็นไปตามกระแสเรียกร้องของคนส่วนใหญ่และ/หรือผู้มีอำนาจ
ในการออกกฎหมาย ตัดสินตีความและบังคับใช้กฎหมาย
เกี่ยวกับแนวคิดรื้อสร้างของแดร์ริดา J. M. Balkin (1987) ได้นำเสนอ
บทความเรื่อง “Deconstructive Practice and Legal Theory” โดยให้ความเห็น
4 Black’s Law Dictionary ให้ความหมาย “Justice” (ความยุติธรรม) หมายถึงการ
บริหารจัดการกฎหมายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม (The fair and proper administration of
laws) ความหมายตามนัยนี้เป็นไปตามแนวทางทฤษฎีกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law)
บทความที่ผานการพิจารณา