Page 565 - kpi17968
P. 565
554
ดำเนินคดีข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการและทำให้เสียทรัพย์ กรณีคดีไพจิตร
2
ศิลารักษ์บุกรุกสถานที่ราชการ กรณีที่กลุ่มสมัชชาคนจนบุกเข้าไปชุมนุมที่หัวงาน
3
เขื่อนราษีไศล อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จากกรณีคดีตัวอย่างที่กล่าวมา
สะท้อนให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง (political mobility) ของแกนนำ
ชาวบ้านและชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ ซึ่งพวกเขา
ต้องการชี้ให้เห็นถึงข้อเรียกร้องของพวกเขา นอกเหนือจากการเคลื่อนไหวทางการ
เมืองเพื่อชี้ให้เห็นถึงข้อเรียกร้องของชุมชน อีกกรณีตัวอย่างหนึ่ง คือ คดีจินตนา
แก้วขาวบุกรุกเข้าไปขว้างปาและเทของเน่าเสียในงานเลี้ยงบริษัท ยูเนี่ยน เพาเวอร์
ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เพื่อแสดงออกถึงการคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูด
ซึ่งไม่เพียงแต่เธอและชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บ้านกรูด (กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด) แสดงออกถึงข้อเรียกร้องของชุมชนเท่านั้น
แต่การเคลื่อนไหวของพวกเขายังตั้งคำถามภายในกระบวนการจัดการทาง
การเมือง นโยบายสาธารณะ และความยุติธรรมในบทบัญญัติกฎหมาย ทั้งนี้
ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อแสดงออกถึงการคัดค้านในสิ่งที่พวกเขาเชื่อว่า
ไม่เป็นธรรมแต่กลับกลายเป็นพวกเขากระทำความผิดในสายตาของกฎหมาย
ในคดีดังกล่าว จินตนา ในฐานะแกนนำกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ ถูกตัดสินตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13005/2553 ให้จำคุกเป็น
เวลา 4 เดือน โดยไม่รอลงอาญาในข้อหาบุกรุก รบกวนการครอบครองที่ดินของ
บริษัท ยูเนี่ยนฯ เจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบ้านกรูด จึงทำให้ความยุติธรรม
ในกฎหมายที่มีการบัญญัติไว้ (positive law) ถูกตั้งคำถาม โดยเฉพาะจาก
ข้อเท็จจริง ที่ปรากฏในคำสัมภาษณ์ของจินตนาภายหลังพ้นโทษจำคุกตาม
คำพิพากษาในคดีดังกล่าว
สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ การที่ศาลฎีกาเห็นว่า การใช้สิทธิตาม
รัฐธรรมนูญในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ใช่สาระที่ควรได้รับการ
วินิจฉัย ทั้งที่ก่อนจะมีคำพิพากษา ปปช. (สำนักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) เคยชี้มูลว่าที่ดินที่เตรียมจะ
2 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553-5554/2556
3 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7644/2555
บทความที่ผานการพิจารณา