Page 557 - kpi17968
P. 557
546
ประเทศ เช่น ในอังกฤษก็มีการดำรงอยู่ร่วมกันของทฤษฎีกฎหมายคอมมอนลอว์
(Common law) และทฤษฎีนิติศาสตร์สำนักกฎหมายบ้านเมือง (Positive law)
และระบบกฎหมายที่ทฤษฎีรัฐธรรมนูญแตกต่างกันแบบสุดขั้วหลายทฤษฎีดำรง
อยู่ร่วมกันอย่างสมดุล คือ ระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมี
แนวคิดทฤษฎีปฏิบัตินิยม (Legal pragmatism) เป็นทฤษฎีที่ครอบงำโดยทฤษฎี
นี้เข้ามาแทนที่ทฤษฎีรูปนัยนิยมของแลงเดลในช่วงสามทศวรรษแรกของทศวรรษที่
ยี่สิบ แต่ทั้งทฤษฎีรูปนัยนิยมและทฤษฎีกฎหมายคอมมอนลอว์ที่ทฤษฎีรูปนัยนิยม
เช่น สัจจนิยม (Legal realism) ต่างก็มีพื้นที่ของตนพอสมควรในบริบทสังคม
นิติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้ทฤษฎีตีความรัฐธรรมนูญที่ใช้ในศาลสูงสุด
สหรัฐจึงมีจำนวนมาก นอกจากแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Structuralism)
วิธีตีความรัฐธรรมนูญในศาลสูงสุดสหรัฐยังมีอีกถึงห้าวิธี ศาสตราจารย์ฟิลิป
บ๊อบบิตต์ (Philip Bobbitt) กล่าวว่า แม้กลไก Judicial review โดยสภาพ
เป็นการขัดขวางเสียงมหาชนที่มีพลังในสหรัฐอเมริกา แต่วิธีตีความทั้งหกวิธีของ
ศาลสูงสุดสหรัฐนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างความชอบธรรมให้กับกลไก Judicial
review ของสหรัฐอเมริกา ตราบจนเท่าทุกวันนี้ ประสบการณ์การดำรงอยู่ร่วมกัน
ของทฤษฎีตีความรัฐธรรมนูญที่แตกต่างกันในสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่น่าศึกษา
สำหรับนักกฎหมายไทย การดำรงอยู่ร่วมกันของทฤษฎีนิติศาสตร์สำนักกฎหมาย
บ้านเมืองและทฤษฎีนิติศาสตร์แนวใหม่ ดังเช่นที่ศาลรัฐธรรมนูญไทยนำมาใช้ใน
คำวินิจฉัยนี้ จะมีพัฒนาการไปสู่ทฤษฎีตีความรัฐธรรมนูญแบบไหน บทบาทของ
นักกฎหมายรัฐธรรมนูญไทยในการชี้นำสถาบันตุลาการนี้จะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง
บ ร ป ละ น นะ
การวิจัยนี้สรุปผลวิจัยและข้อเสนอแนะว่า แนวความคิดของศาสตราจารย์
พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ที่ว่าหลักนิติธรรมนั้นต้องตั้งอยู่ในความถูกต้อง
ชอบธรรม (Righteousness) ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมของพระมหากษัตริย์และ
นักปกครองไทยให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม คือ “อวิโรธนัง” หรือ“ความไม่คลาด
ในธรรม” ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงยึดถือเป็นหลักการปกครองปวงชน
ชาวไทยโดยธรรมมาแต่โบราณกาลทุกยุคทุกสมัยตราบถึงปัจจุบัน ดังนั้น “อวิโรธนัง”
บทความที่ผานการพิจารณา