Page 563 - kpi17968
P. 563

552




               พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

               เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้อำนาจรัฐในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
               โดยไม่เปิดช่องให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเท่าที่ควร


                     จากการมุ่งเน้นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชนทำให้ประชาชนใน
               ท้องถิ่นหลายพื้นที่จำต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลง
               ไปอันเนื่องมาจากความเสื่อมโทรมและการรุกล้ำทรัพยากรธรรมชาติที่เคยเป็น

               แหล่งทำมาหากินและเป็นสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หลายกรณี
               ตัวอย่างของชุมชนที่ล่มสลายและมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง อันได้แก่

               ชุมชนแม่เมาะกรณีโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ชุมชนมาบตาพุดกรณีนิคมอุตสาหกรรม
               มาบตาพุด และชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนราษีไศล เป็นต้น ทำให้
               ตลอดระยะเวลาเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมาได้มีความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาความ
               เสื่อมโทรมของทรัพยากรอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังได้มีการผลักดันกฎหมายที่

               เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ รวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐโดยเฉพาะที่
               เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม อาทิ ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อม ศาลปกครอง และ
               กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในทาง

               ปฏิบัติ ประชาชนผู้ถูกละเมิดสิทธิในเรื่องการบุกรุกที่อยู่อาศัย หรือได้รับ
               ผลกระทบจากปัญหาสภาพแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากร ยังมี
               โอกาสน้อยมากที่จะได้รับค่าชดเชยจากความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการขาด

               อำนาจต่อรอง การขาดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม การขาดความรู้ทาง
               เทคนิคที่เกี่ยวข้องในการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดขึ้นเมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณา
               ของศาล ตลอดจน ต้นทุนที่สูงในการดำเนินคดีและความล่าช้าของกระบวนการ

               ยุติธรรม ซึ่งทั้งหมดส่งผลให้ผู้ถูกละเมิดจำใจรับความเสียหายที่เกิดขึ้น
               (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, 2556) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


                     ในความเป็นจริงแล้ว การละเมิดสิทธิเช่นว่านั้น ชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น
               มองว่าเป็นการละเมิดสิทธิทางธรรมชาติที่พวกเขามีอยู่มาดั้งเดิมอย่างยาวนาน
               หลายชั่วอายุคนโดยไม่จำเป็นต้องมีการรับรองตามกฎหมาย สิทธิที่หลายคนรู้จัก

               กันดีและเรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สิทธิชุมชน” นี้ พวกเขาถือว่าเป็นสิทธิตาม
               สภาพความเป็นจริง (de facto) ที่ไม่ว่าจะมีการรับรองทางกฎหมายหรือไม่






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   558   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568