Page 568 - kpi17968
P. 568
557
ว่าเมื่อเรารื้อสร้างหลักกฎหมาย เรารื้อสร้างอุดมการณ์ หรือโลกทัศน์ที่ทำให้เรา
ทราบเกี่ยวกับหลักกฎหมายดังกล่าว เราสามารถใช้การรื้อสร้างเพื่อแสดงว่า
หลักการไม่สมบูรณ์ เราใช้การรื้อสร้างเป็นเครื่องมือการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์
และอุดมการณ์ได้ด้วย โดยนัยนี้ การรื้อสร้างจึงสามารถนำมาใช้กับงานวิชาการ
ด้านกฎหมาย เพื่อสำรวจ สืบค้นหา และตรวจสอบความชอบธรรมทางกฎหมาย
ว่ามีหลักการอะไรบ้างที่ไม่สมบูรณ์และจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้
ของความยุติธรรม
การศึกษากฎหมายกับความยุติธรรมในมุมมองของแดร์ริดาเป็นการรื้อสร้าง
โดยตั้งคำถามกับกฎหมายบ้านเมืองที่ถูกกำหนดโดยมนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ของ
มนุษย์ โดยเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของรัฐ (Morrison, 1997, p. 521)
ดังนั้น เมื่อนำแนวคิดการรื้อสร้างมาปรับใช้กับงานศึกษาครั้งนี้ จะเป็นการ
ตรวจสอบสิทธิชุมชนตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญว่ามีความเป็นไปได้ ของความ
ยุติธรรมมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้ ในการตรวจสอบว่าสิทธิชุมชนในฐานะกฎหมาย
มีความยุติธรรมหรือไม่นั้น จำเป็นต้องศึกษาผ่านนิติสำนึกของผู้ทรงสิทธิชุมชน
ในที่นี้คือชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพาน กล่าวคือการเรียกร้อง
ความยุติธรรมในสิทธิชุมชนของจินตนาและชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-
บางสะพานนับตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2550 ถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 รวมตลอดระยะ
เวลา 17 ปี จะสะท้อนให้เห็นถึงคู่ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม
ดังกล่าวว่ามีช่องว่างห่างกันอย่างไร
นิติ น ก า ย ามย ติธรรม น ิ ธิช มชน ร ป บบ
การ ร ยกร ิ ธิ าม ป นธรรม
Susan S. Silbey (2005) ได้ให้ความหมายนิติสำนึกว่าคือความคิด
การกระทำ การเล่าเรื่อง การร้องเรียน การร้องทุกข์ การทำงาน การเล่น
การแต่งงาน การหย่า การฟ้องร้อง หรือแม้แต่การปฏิเสธที่จะโทรเรียกตำรวจ
สรุปความได้ว่าการใช้กฎหมายหรือไม่ใช้กฎหมายในชีวิตประจำวัน ของผู้คนโดย
ทั่วไป ซึ่งถือว่าเป็นความคิด ทัศนคติ การตีความประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมาย
บทความที่ผานการพิจารณา