Page 573 - kpi17968
P. 573
562
ก็สามารถเคลื่อนไหวต่อสู้จนสำเร็จ โรงไฟฟ้าหินกรูด โรงถลุงเหล็กยังไม่สามารถ
เกิดขึ้นในพื้นที่บ้านกรูด-บางสะพานได้ จนเมื่อ พ.ศ. 2550 ประวัติศาสตร์ก็ย้อน
รอยเดิม ชาวบ้านทราบข่าวการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พวกเขาร้องเรียนไปที่
กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้สอบถามไปที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่ง
ประเทศไทย (กนอ.) ซึ่ง กนอ. มีหนังสือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2555 ว่าพื้นที่
นิคมอุตสาหกรรมเหล็กอยู่ที่บางสะพาน โดยมีการทำสัญญาร่วมดำเนินการจัดตั้ง
นิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจรกับบริษัท เครือสหวิริยา จำกัด เมื่อวันที่
21 พฤศจิกายน 2550 และมีการอ้างถึงมติ อบต. แม่รำพึงสมัยวิสามัญที่ 4
ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2549 ให้ความเห็นชอบการนำพื้นที่ของ
บริษัทและบริษัทในเครือ สหวิริยาทั้งหมดจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งอยู่
ระหว่างการปรับปรุงรายงาน EIA การอ้างมติ อบต. แม่รำพึงดังกล่าวไม่แตกต่าง
อะไรกับกรณีโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูดที่ อบต. ธงชัย มีมติเห็นชอบโครงการ
อย่างไรก็ดี ข้อสังเกตที่ผู้วิจัยค้นพบคือว่าการเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ
บ้านกรูด-บางสะพานในช่วงเหตุการณ์ประกาศเขตนิคมอุตสาหกรรมมีความ
แตกต่างจากกรณีโครงการโรงไฟฟ้าหินกรูดอย่างชัดเจน ในครั้งนี้ ชาวบ้าน
ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยนัดหมายผู้เกี่ยวข้องให้มาเข้าร่วมประชุมกับ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แก่ กนอ. อุตสาหกรรมจังหวัด และ
บริษัท เครือสหวิริยา จำกัด พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งในการประชุม
ครั้งนี้ บริษัท เครือสหวิริยา จำกัด ได้ยืนยันว่ามีการทำสัญญาร่วมกับ กนอ.
เพื่อเตรียมประกาศนิคมอุตสาหกรรมเหล็กที่บางสะพานจริง เจ้าหน้าที่ กนอ.
ชี้แจงว่าเรื่อง EIA ที่แจ้งตามหนังสือเป็นการแจ้งผิดพลาดโดยตามความเป็นจริง
ยังไม่มีการทำ EIA ในที่ประชุมครั้งนั้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ กนอ. ไปสรุปและ
ยืนยันสถานะของการนิคมอุตสาหกรรม กรณีการจัดให้มีการประชุมระหว่าง
ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการเคลื่อนไหวของชาวบ้าน
ที่แสวงหาข้อมูลข่าวสารในช่องทางที่ถูกต้องชอบธรรมขึ้น จากเดิมที่เคยเดินทางไป
ชุมนุมปิดล้อมยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้ได้คำตอบก็ยกระดับเป็นการประชุมโดยมีการ
จัดทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าหน่วยงานใดมีข้อมูลอะไรและจะต้องดำเนินการ
อะไรต่อไป เพื่อชาวบ้านจะได้ติดตามเรื่องได้
บทความที่ผานการพิจารณา