Page 601 - kpi17968
P. 601

590




                     คำถามที่น่าสนใจจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้น ได้มีผู้ตั้ง

               ข้อสังเกตไว้หลายประเด็น ประการแรก ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่อนุญาตให้ฝ่าย
               นิติบัญญัติเป็นผู้แก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วใครควรมีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
               ที่มาจากการทำประชามติ ประการที่สอง หลักการตีความรัฐธรรมนูญ ซึ่งเหตุผล

               ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่อ้างถึงแนวทางการตีความบ่งบอกถึงวิธีการ
               ตีความรัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญไทยว่าใช้หลักการตีความตามเจตนารมณ์
               ของรัฐธรรมนูญ ได้นำไปสู่คำถามต่อไปว่า แนวทางการตีความรัฐธรรมนูญ

               ตามเจตนารมณ์หมายถึงอะไร มีหลักการแนวความคิดต่อการตีความอย่างไร และ
               ยังน่าสนใจต่อไปอีกเมื่อมีนักกฎหมายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การตีความและ
               ประยุกต์ใช้รัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญข้างต้น แสดงว่านักกฎหมายเหล่านั้น

               มีข้อเสนอแนะต่อการตีความรัฐธรรมนูญแบบเจตนารมณ์ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้
               เลือกใช้อย่างไร หรือกระทั่งมีข้อเสนอเกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญแนวทางอื่น
               หรือไม่อย่างไร ประการสุดท้าย ผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยับยั้ง

               การแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการทางรัฐสภาข้างต้น จะส่งผลให้เกิดแนวทาง
               การแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยองค์กรหรือสถาบันการเมืองอื่นได้หรือไม่ และถ้ามีจะ
               เป็นไปในรูปแบบใด และจะมีกลไกอะไรบ้างที่จะช่วยตรวจสอบความชอบธรรม

               ของการแก้ไขดังกล่าว

                     จากคำถามที่น่าสนใจหลายคำถามข้างต้น บทความนี้คงไม่สามารถจะ

               ตอบคำถามที่ซับซ้อนเหล่านั้นได้ทั้งหมด ดังนั้นบทความนี้จึงเลือกพิจารณาเพียง
               หลักการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มจากการพิจารณาหลักการตีความ
               ในต่างประเทศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อถกเถียง ข้อดีและข้อด้อยของแนวทาง

               การตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญต่างๆ และย้อนกลับมาทบทวนลักษณะของ
               สังคมไทย เพื่อเสนอแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญของไทยต่อไป ทั้งนี้
               บทความนี้ได้เลือกกรณีศึกษาตามแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ

               เป็นหลัก เพราะสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ได้วางรากฐานของสถาบันตุลาการอย่าง
               ยาวนาน ผ่านความขัดแย้งต่างๆ หลายกรณีแต่ก็ยังดำรงเป็นสถาบันทางการเมือง
               ที่มีความมั่นคงและต่อเนื่องได้ นอกจากนี้ศาลไทยเคยวางบทบาทหน้าที่ของศาลไว้

               สอดคล้องกับศาลสูงของสหรัฐฯ ดังคำพิพากษาศาลฎีกาของไทยที่ 1/2489
               ในเรื่อง พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม พ.ศ. 2488 ได้มีผลคำพิพากษาที่น่า





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   596   597   598   599   600   601   602   603   604   605   606