Page 604 - kpi17968
P. 604
593
ความไม่ชัดเจนจึงพิจารณาย้อนกลับไปหาเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญนั้นๆ
เป็นสำคัญ (เพิ่งอ้าง และบวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2542, น. 31-39.) เสมือนหนึ่ง
เป็นแนวทางเดียวของการตีความรัฐธรรมนูญ ขณะที่การศึกษาการตีความ
รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ในศตวรรษที่ 20 ได้เกิดปรากฏการณ์การโต้เถียงระหว่าง
สองแนวคิดหลัก ซึ่งการโต้เถียงระหว่างสองแนวคิดข้างต้นดำเนินอยู่ในสังคม
สหรัฐฯอย่างยาวนาน และข้อถกเถียงดังกล่าวก็ยังไม่มีข้อยุติที่ลงตัว/เห็นพ้อง
ต้องกันว่าจะดำเนินไปตามแนวทางไหนเป็นหลักระหว่าง เจตนารมณ์นิยม
(Originalism) และรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต (The Living Constitution) ซึ่งทั้งสอง
แนวทางข้างต้นมีแนวคิดและข้อจำกัดดังต่อไปนี้
ตนารม นิยม
มิเชล เบอร์แมน (Mitchell Berman) ได้แยกความแตกต่างหลากหลาย
ของแนวคิดเจตนารมณ์นิยม (Originalism) ไว้มากกว่า 72 ความหมายในหนังสือ
Originalism is Bunk (Berman, 2009) แต่ทั้งนี้สามารถแบ่งแยกแนวคิด
เจตนารมณ์นิยมออกได้เป็นสองแนวคิดหลัก ๆ คือ แนวทางเจตนารมณ์นิยมเดิม
(old originalism) และแนวทางเจตนารมณ์นิยมใหม่ (new originalism) ซึ่งทั้ง
สองแนวคิดมีจุดร่วมที่สำคัญคือ มองรัฐธรรมนูญในฐานะผลผลิตของสังคม
การเมืองที่สมบูรณ์ (a finished product) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การเมืองได้มี
จุดเริ่มต้น และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาในอนาคตของ
การปกครอง ซึ่งไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ประชาชนก็ยังจะคงศรัทธา
ในโครงสร้างพื้นฐานที่ดำรงอยู่ในรัฐธรรมนูญ (Balkin, 2009, p. 550) และมี
หลักการเกี่ยวกับการตีความที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้
ตนารม นิยม ิม
เจตนารมณ์นิยมเดิมเชื่อว่าศาลควรจะตีความให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ โดยมองรัฐธรรมนูญอย่างให้ความสำคัญกับคำที่บัญญัติใน
รัฐธรรมนูญ เพราะความหมายนั้นเป็นสิ่งที่ประชาชนได้รับการยอมรับข้อบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญที่ถูกระบุไว้ โดยห้ามให้ความหมายที่แตกต่างจากความเข้าใจของ
บทความที่ผานการพิจารณา