Page 602 - kpi17968
P. 602
591
สนใจไว้ว่า ศาลจำเป็นต้องมีผู้มีอำนาจชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดกับรัฐธรรมนูญหรือ
ไม่ เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดได้มีผลในทางปฏิบัติ เพราะการปล่อย
ให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นทั้งผู้ออกกฎหมายและผู้ตรวจสอบชี้ขาดว่าเป็นกฎหมาย
หรือไม่ได้อย่างไร จะไม่เป็นไปตามหลักการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งคำ
พิพากษานี้ ได้วางรากฐานทางอำนาจของศาลไว้คล้ายคลึงกับที่สหรัฐฯ เคยวาง
บทบาทของศาลไว้ในคดี Marbury VS Madison
จากคำถามข้างต้นทำให้บทความนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนสำคัญเพื่อจะ
ตอบคำถามดังกล่าว ได้แก่ ส่วนแรกจะเป็นการอธิบายความเข้าใจเบื้องต้น
เกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญ ว่าทำไมจำเป็นต้องตีความรัฐธรรมนูญ ส่วนที่
สองเป็นการอธิบายแนวทางการตีความรัฐธรรมนูญของสหรัฐแนวทางต่างๆ
พร้อมชี้ให้เห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแนวคิด ส่วนที่สามเป็นการอธิบาย
แนวทางการตีความรัฐธรรมนูญของไทยที่ใช้อยู่ โดยเน้นในช่วงหลังเกิดเหตุการณ์
ตุลาการภิวัฒน์ (หลัง พ.ศ. 2549 ถึงปัจจุบัน) และส่วนสุดท้ายเป็นข้อเสนอแนะ
ต่อการตีความรัฐธรรมนูญของไทย
การต ามรั ธรรมน
การตีความรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะภาษาที่ถูกเขียนไว้ใน
รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่กินความหมายได้หลายนัย กล่าวคือ ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ
เลือกใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายหนึ่ง แต่คนอ่านอาจไปเข้าใจหรือแสร้งเข้าใจไปใน
อีกความหมายหนึ่ง ดังนั้นการตีความจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วไป (บวรศักดิ์
อุวรรณโณ, 2542, น. 31-39 และ Strauss, 2010, p.10) เช่น กฎหมายบัญญัติ
ว่า “ห้ามเดินลัดสนาม” ประชาชนอาจจะตีความไปได้ว่า กฎหมายแค่ห้ามเดินลัด
สนาม ดังนั้นคนทั่วไปสามารถวิ่ง กระโดด คลาน ตีลังกา และกริยาอื่นๆ อีกนับ
ไม่ถ้วนเพื่อข้ามสนามแห่งนั้นไป เป็นต้น หรือบางครั้งการเขียนกฎหมาย
รัฐธรรมนูญไม่ได้รัดกุมเพียงพอ อาจจะเกิดช่องว่างของการนำรัฐธรรมนูญ
ไปปฏิบัติใช้ ดังนั้นกฎหมายกับการตีความจึงเป็นของที่อยู่คู่กัน เพื่อพัฒนา
บทบัญญัติและตัวบทกฎหมายที่จะทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญสามารถเติมเต็ม
ช่องว่างดังกล่าว นำไปสู่การปฏิบัติได้จริงตามจุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ
(Balkin, 2009, p.560)
บทความที่ผานการพิจารณา