Page 605 - kpi17968
P. 605

594




               ประชาชนโดยทั่วไป (Strauss, 2010, p.10) ทั้งนี้หากศาลตีความเกินกว่าตัวบท

               รัฐธรรมนูญจะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (Roosevelt, 2006, pp. 47-
               48) และการย้อนกลับไปหาเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะป้องกันการใช้
               ดุลยพินิจของผู้พิพากษาในอนาคต ซึ่งการปล่อยให้ผู้พิพากษาใช้ดุลยพินิจอาจจะ

               เป็นการตัดสินใจที่เลวร้ายหรือหลุดออกจากค่านิยมที่ดี (Balkin, 2009, p. 554)

                     การค้นหาเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญคือ ความพยายามจะปกป้องให้

               ศาลพิจารณาคดีโดยปราศจากค่านิยมให้มากที่สุด และสิ่งที่ศาลจะใช้ในการ
               พิจารณาคดีจะมีเฉพาะตัวบทและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แต่ทั้งนี้หลักฐาน

               ทางประวัติศาสตร์ต้องไม่มากไปกว่า ความหมายพื้นฐาน (plain meaning)
               ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ (Roosevelt, 2006, pp. 50-51)


                     นอกจากนี้นักคิดตามแนวคิดแบบเจตนารมณ์นิยมเห็นว่าแนวทาง
               การตีความรัฐธรรมนูญด้วยการวิเคราะห์หาเจตนารมณ์เป็นแนวทางที่ดีกว่า
               แนวทางอื่น ด้วยเหตุผลสำคัญ 8 ประการ (Exploring Constitutional Conflict,
               2014) คือ


                     1. เจตนารมณ์นิยมลดความเป็นไปได้ของการตัดสินใจของตุลาการที่จะ
               ครอบครองอิทธิพลเหนืออำนาจที่มาจากตัวแทนจากการเลือกตั้ง


                     2. ในช่วงเวลาที่ยาวนานการดำเนินการวินิจฉัยตามแนวทางเจตนารมณ์

               นิยมจะส่งผลที่ดีกว่าจะมอบอำนาจให้แก่ศาลเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตัวของศาลเอง

                     3. แนวทางการตีความรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่แนวทางเจตนารมณ์นิยมอนุญาต

               ให้ตุลาการนำอัตวิสัยและค่านิยมของตนมาตัดสิน ซึ่งศาลควรจะตัดสินอย่างเป็น
               กลาง เป็นวัตถุวิสัย ตามความตั้งใจของผู้ร่างและผู้ให้สัตยาบันแก่รัฐธรรมนูญ
               ที่คาดหวังให้ศาลวินิจฉัยอย่างเป็นกลาง


                     4. คดี Lochner vs. New York เป็นตัวอย่างหนึ่งของการวินิจฉัยที่ไม่ใช้
               แนวทางเจตนารมณ์นิยม และเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ดี










                    บทความที่ผานการพิจารณา
   600   601   602   603   604   605   606   607   608   609   610