Page 603 - kpi17968
P. 603

592




                     นอกเหนือจากนี้รัฐธรรมนูญคือสิ่งที่สะท้อนถึงโครงสร้างทางอำนาจและ

               ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันต่างๆ ภายในรัฐ (เสน่ห์ จามริก, 2549, น. 9)
               ดังนั้นรัฐธรรมนูญจึงถือเป็นสถาบันการเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การตีความ
               รัฐธรรมนูญอาจจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ภายในรัฐนั้นๆ

               ดังนั้นการตีความรัฐธรรมนูญจึงจำเป็นต้องพิจารณาตีความอย่างรัดกุมมากกว่า
               กฎหมายทั่วไป ซึ่งการตีความรัฐธรรมนูญมีหลักการพื้นฐานสำหรับการตีความอยู่
               7 ประการ (นภดล เฮงเจริญ, 2546, น. 215-224.) ดังนี้


                     1. ต้องมีการทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักไทย

                     2. การตีความรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงบทบัญญัติที่มาก่อนในมาตรา

               เดียวกัน หรือในมาตราที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเรียกว่าหลัก Ejusdem Generis

                     3. การตีความรัฐธรรมนูญจะต้องละเว้นไม่ตีความให้เกิดผลประหลาด หรือ

               Golden Rule

                     4. การตีความรัฐธรรมนูญมีหลักการพื้นฐานเหมือนกับการตีความ

               กฎหมายทั่วไปที่มีความมุ่งหมายในทางที่จะให้กฎหมายใช้บังคับได้ มากกว่าจะ
               บัญญัติขึ้นมาให้รัฐธรรมนูญไร้ผลบังคับ


                     5. เพื่อคุ้มครองป้องกันรัฐธรรมนูญ จำเป็นต้องมีทางออกให้แก่องค์กรตาม
               รัฐธรรมนูญที่ประสบปัญหาจากการใช้รัฐธรรมนูญ สามารถที่จะตีความ
               รัฐธรรมนูญเพื่ออุดช่องว่างของรัฐธรรมนูญ


                     6. ต้องคำนึงถึงความเป็นเอกภาพของรัฐธรรมนูญ


                     7. หากมีข้อสงสัยในข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน จะต้อง
               ตีความให้เกิดประโยชน์แก่สิทธิและเสรีภาพของประชาชนมากกว่าจะจำกัดสิทธิ
               เสรีภาพของประชาชน


                     สำหรับรูปแบบแนวความคิดต่อการตีความรัฐธรรมนูญของนักกฎหมายไทย

               จะพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญโดยอิงกับตัวอักษรเป็นหลัก หากตัวอักษรเกิด




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   598   599   600   601   602   603   604   605   606   607   608